สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
สนับสนุน บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด
เปิดตัวแอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” เพื่อให้เกษตรกรรู้เท่าทันสภาพอากาศล่วงหน้า 7 วันรายพิกัด รายแปลง สามารถตั้งหลักรับมือภัยธรรมชาติได้ทันท่วงที
แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร คาดภายใน 3 ปี
มีเกษตรกรเข้าถึงข้อมูล 10 ล้านคน
ช่วยลดต้นทุนและเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ 1,000 ล้านบาทต่อปี
![](/uploads/2021/10/14/c6884fed217b80ba8df89d697c452c3f.jpg)
ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์
ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า
เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร
ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยเหตุนี้ ดีป้า
จึงร่วมมือกับ บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด ในการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะของประเทศ โดยล่าสุดได้พัฒนาแพลตฟอร์ม
ที่มีชื่อว่า “ฟ้าฝน” ภายใต้โครงการ “CPS AGRI: ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย”
ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
(depa Digital Infrastructure Fund for Private Investment)
![](/uploads/2021/10/14/483a78595f46562f094ca5e2df8246f2.jpg)
ด้าน
ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด
และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรประมาณ
80% ของประเทศ อยู่นอกเขตชลประทาน
ซึ่งต้องอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและฝนเป็นหลัก ดังนั้น แอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน”
จึงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญ ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถทราบถึงสภาพอากาศแบบรายชั่วโมง
หรือล่วงหน้า 7 วัน
โดยดูการเคลื่อนไหวของสภาพอากาศผ่านดาวเทียมที่มีความละเอียดและแม่นยำ
รวมถึงสามารถตั้งค่าเพื่อรับการแจ้งเตือนพายุ ฝน ลม
และการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของอุณหภูมิได้แบบรายแปลง รายพิกัด
![](/uploads/2021/10/14/822d4f887dfac2f38da87c52b4794374.jpg)
นอกจากนี้
แอปพลิเคชันดังกล่าวยังรองรับการสร้างเครือข่ายชุมชนเกษตรกร
พร้อมมีเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่แปลงเพาะปลูก ได้แก่
การรังวัดเพื่อหาพิกัด ความยาว และพื้นที่ การคำนวณปริมาตรดิน
สำหรับขุดบ่อและถมดิน ตลอดจนการหาขอบเขตพื้นที่ภายในระยะรัศมีที่ต้องการแล้วนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้ว
แพลตฟอร์ม “ฟ้าฝน”
ยังเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านการเดินทาง ทั้งทางบก
ทางน้ำ และทางอากาศ การท่องเที่ยว การออกกำลังกาย
การวางแผนทำกิจกรรมกลางแจ้งอีกด้วย คาดว่าภายในระยะเวลา
3 ปี
จะมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคน
ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรและสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” ได้แล้วทั้งระบบ
Android และ iOS
![](/uploads/2021/10/14/b511b4cd7b7bdfb92f31b58830823c0f.jpg)
สำหรับโครงการ CPS AGRI: ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทยถือเป็นโครงการที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่
(Big Data) มากถึง 10 ประเภท ได้แก่
ข้อมูลฝนจากดาวเทียมประมาณ 9 ดวง ผลการพยากรณ์อากาศความละเอียดสูง การสังเกตและผลการพยากรณ์พายุหมุนเขตร้อน
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน ผลการพยากรณ์ภูมิอากาศความละเอียดสูงล่วงหน้า
10 ปี ข้อมูลสภาพอากาศจากอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศ ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจ
(ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา) ผลการพยากรณ์ผลผลิตอ้อย ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจากดาวเทียม
และสถานภาพความสมบูรณ์ของพืชจากดาวเทียม พร้อมมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ
500 จุดทั่วประเทศ
![](/uploads/2021/10/14/c7f37fb124bcc408f6475b0b9d9157f0.jpg)
![](/uploads/2021/10/14/74e3e988fca8d664fe49c7ccda12837f.jpg)
ปัจจุบัน
โครงการนี้ได้ให้บริการข้อมูลพยากรณ์อากาศแก่ประชาชน เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก “พยากรณ์อากาศประเทศไทย”
จากการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพอากาศแบบครอบคลุมรอบด้าน ทำให้เพจเฟซบุ๊ก “พยากรณ์อากาศประเทศไทย”
มีผู้ใช้งานกดติดตามข้อมูลข่าวสารเกือบล้านคน