จีน เร่งแก้ปัญหาหนัก 3 ค่ายจีนชี้โครงข่าย 5G ค่าไฟฟ้าพุ่งทะลุ 7 แสนล้านบาท จากเดิม 4G เพียง 2 แสนล้านบาท
ประเทศจีนเร่งแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้ากับโครงข่าย 5G ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ส่งผลกระทบการขยายโครงข่ายและต้นทุนในการดำเนินการเนื่องจากการที่ค่ายมือถือได้ครับคลื่นความถี่ที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นย่อมต้องใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวมากไปกว่านั้นการให้บริการโทรคมนาคมที่ใช้คลื่นความถี่สูงต้องสร้างสถานีฐานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ที่ผ่านมาหลังจากที่ประเทศจีนเริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ต 5G ผ่านโครงข่าย 2600 และ 3300 MHz เริ่มใช้งานเชิงพาณิชย์ในปี 2019 ผู้ให้บริการทั้ง 3 ค่ายมีสถานีฐาน 5G มากกว่า 910,000 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของโลกของสถานีฐาน 5G ที่สำคัญครอบคลุมเมืองระดับจังหวัดทั้งหมด มากกว่า 95% ของมณฑล
มีจำนวนผู้ใช้แพ็คเกจ 5G จำนวนเกิน 500 เลขหมาย และมีจำนวนหมายเลขที่เชื่อมต่อโครงข่าย 5G มากกว่า 390 ล้านเลขหมาย
จำนวนผู้ใช้แพ็คเกจ 5G ในประเทศเกิน 500 ล้านคน อัตราการเจาะ 5G เกิน 30% และจำนวนการเชื่อมต่อเทอร์มินัล 5G มีมากกว่า 390 ล้าน คิดเป็นมากกว่า 80% ของทั้งหมดทั่วโลก ข้อมูลเหล่านี้จัดอยู่ในลำดับ ครั้งแรกในโลก
เมื่อเทียบกับจำนวนสถานีฐานกับการใช้พลังงานระหว่าง 4G และ 5G ต่างกันอย่างชัดเจนโดยสถานีโครงข่าย 5G ใช้พลังงานมากถึง 3500Wต่อเดือน (หากคิดเป็นค่าไฟฟ้าประเภทบ้านของประเทศไทยจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่ที่ 15,784.64 บาทต่อเดือน)
หากคิดอัตราค่าไฟฟ้าประจำปีสำหรับ 10 ล้านสถานีฐานจะมีราคา 150 พันล้านหยวนหรือ 775,219 แสนล้านบาท แต่รวมกำไรของผู้ให้บริการ 3 รายในปี 2020 มีรายได้เพียง 140 พันล้านหยวน หรือ 723,537 แสนล้านบาทเท่านั้น
ตามข้อมูลของผู้ให้บริการในประเทศจีน ณ สิ้นปี 2563 มีจำนวนสถานีฐาน 9.31 ล้านสถานี โดยเป็นสถานีฐาน 4G มีจำนวน 5.75 ล้านสถานี คิดเป็น 60% ของโครงข่ายทั้งหมด หากต้องเปลี่ยนเป็นโครงข่าย 5G ต้องการสถานีฐาน 4G ประมาณ 3 ถึง 4 เท่าเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เคยให้บริการ 4G เดิม
เมื่อเทียบกับปี 2018 ผู้ให้บริการหลัก 3 ราย ให้บริการ เครือข่าย 2/3/4G เกือบ 1,000 สถานีฐาน และค่าไฟฟ้ารวมกว่า 4 หมื่นล้านหยวนเท่านั้น ( 206 แสนล้านบาท )
ดังนั้น โครงข่าย 5G จึงต้องลงทุนโครงข่ายที่ใหญ่กว่าเดิมอย่างน้อยต้องมี 15-20 ล้านสถานี
เมื่อเทียบกับจำนวนสถานีฐาน การใช้พลังงาน และการลงทุนของ 4G และ 5G ช่องว่างนั้นใหญ่เกินไปจริงๆ แม้ว่าสถานีฐาน 5G ของผู้ให้บริการหลัก 3 รายจะถูกสร้างขึ้นและแชร์กันทั้งหมด
ปัจจุบันโครงข่าย 4G มีโครงข่ายรวมกันเป็นจำนวน 900,000 สถานี ถือเป็น 1 ใน6 ของสถานีทั้งหมดเท่านั้น ในช่วง 10 ปีตั้งแต่ปี 2554 - 2563 การลงทุน 4G ของผู้ให้บริการหลัก 3 รายมีมูลค่าประมาณ 750,000 ล้านหยวน และการลงทุน 4G ทั้งหมดรวมกันอาจกล่าวได้ว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ 5G