19 ต.ค. 2564 1,142 1

Dell Technologies ชี้องค์กรส่วนใหญ่ไม่มั่นใจการฟื้นฟูการโจมตีแรนซัมแวร์ได้ทัน ส่งผลข้อมูลองค์กรสูญหาย และการใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างแอปพลิเคชันบน Cloud รวมถึง Kubernetes Containers และ AI

Dell Technologies ชี้องค์กรส่วนใหญ่ไม่มั่นใจการฟื้นฟูการโจมตีแรนซัมแวร์ได้ทัน ส่งผลข้อมูลองค์กรสูญหาย และการใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างแอปพลิเคชันบน Cloud รวมถึง Kubernetes Containers และ AI

ผลสำรวจจากดัชนีด้านการปกป้องข้อมูลทั่วโลก ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ประจำปี 2021 (2021 Global Data Protection Index หรือ GDPI) เผยว่าองค์กรธุรกิจต่างกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านการปกป้องข้อมูลหลายประการที่เกิดจากการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์อย่างต่อเนื่อง และการใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนคลาวด์ รวมถึง Kubernetes Containers และ AI
สอดคล้องตามผลสำรวจล่าสุดจาก IDC ที่ว่ามีองค์กรจำนวนหนึ่งในสามทั่วโลกเคยมีประสบการณ์จากการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์หรือช่วงโหว่ ที่ปิดกั้นการเข้าถึงระบบงานหรือข้อมูลภายในช่วง 12 เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งในการรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และดูเหมือนเป็นปัญหาที่ยากจะหลีกเลี่ยง เดลล์ เทคโนโลยีส์ จึงได้มีการแนะนำซอฟต์แวร์ และบริการใหม่เพื่อเร่งสร้างความพร้อมด้านการใช้งานข้อมูลสำรองบนเวอร์ชวลแมชชีน หรือ VM และช่วยให้บริหารจัดการชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังช่วยรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ อีกทั้งช่วยลดการดำเนินการด้านการกู้คืนทางไซเบอร์ในทุกวันได้
นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ผลการศึกษา Dell Technologies 2021 GDPI ระบุว่าสองในสามของผู้ตอบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีความกังวลว่ามาตรการด้านการปกป้องข้อมูลขององค์กรเท่าที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคามจากมัลแวร์และแรนซัมแวร์ ในยุคที่มีภัยคุกคามไซเบอร์เกิดมากขึ้น เราเข้าใจดีว่ามีเดิมพันที่สูงขึ้น และความซับซ้อนก็เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยเราได้ทำงานร่วมกับลูกค้าทั่วภูมิภาคอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับความท้าทายที่มากขึ้น ด้วยการนำกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาพรวมพร้อมการปกป้องข้อมูล มาช่วยลดความเสี่ยงและช่วยให้มั่นใจถึงความยืดหยุ่นในการรับมือในกรณีที่เกิดการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่นๆ"
ผลการศึกษา GDPI ฉบับใหม่ เผยให้เห็นความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในเรื่องการปกป้องข้อมูล

การจัดทำสำรวจ Dell Technologies GDPI ประจำปี 2021 กับผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทั่วโลกนับ 1,000 ราย โดย 250 รายมาจากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้) แสดงให้เห็นว่าองค์กรมากมายกำลังต้องต่อสู้กับการเติบโตของข้อมูลอย่างต่อเนื่องและความซับซ้อนด้านการปกป้องข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่าองค์กรทั่วโลกกำลังบริหารจัดการปริมาณข้อมูลที่เพิ่มจาก 5 ปีก่อนถึงกว่า 10 เท่า จากปริมาณข้อมูล 1.45 เพตะไบต์ ในปี 2016 เพิ่มเป็น 14.6 เพตะไบต์ในปี 2021 นอกจากนี้ ผู้ตอบการสำรวจ 82 เปอร์เซ็นต์ ในทั่วโลก และ 72 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีความกังวลว่าโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กรจะไม่สามารถรับมือกับความท้าทายด้านธุรกิจทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยพบว่าจากความกังวลเหล่านี้ 33 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั่วโลก และ 38 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียแปซิฟิก ได้มีการรายงานถึงการสูญหายของข้อมูลในปีที่ผ่านมา และ 45 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรทั่วโลก กับ 42 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียแปซิฟิก เคยมีประสบการณ์เรื่องการดาวน์ไทม์ของระบบแบบที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
ผลการศึกษา GDPI ยังรวมไปถึงประเด็นต่อไปนี้

· 62 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และ 68 เปอร์เซ็นต์จากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กังวลว่ามาตรการด้านการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อการรับมือกับการโจมตีจากมัลแวร์ และแรนซัมแวร์ ในขณะที่ 74 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และ 72 เปอร์เซ็นต์จากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เห็นพ้องต้องกันว่าอัตราการขยายตัวของพนักงานที่ทำงานจากที่บ้านเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะสูญหายจากภัยคุกคามทั้งมัลแวร์และแรนซัมแวร์มากขึ้น

· 67 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และ 67 เปอร์เซ็นต์จากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ไม่มั่นใจว่าจะสามารถกู้คืนข้อมูลสำคัญทางธุรกิจทั้งหมดได้ ในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์อย่างรุนแรง หรือข้อมูลสูญหาย

· 63 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และ 64 เปอร์เซ็นต์จากเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เชื่อว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่นแอปพลิเคชันที่ทำงานบนคลาวด์ Kubernetes Containers รวมถีง AI และแมชชีนเลิร์นนิ่ง จะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการปกป้องข้อมูล และการขาดโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีที่ใหม่ขึ้นก็เป็นหนึ่งในสามของความท้าทายหลักด้านการปกป้องข้อมูลสำหรับองค์กร

· ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของการสูญหายของข้อมูลภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาสูงขึ้นถึงสี่เท่าสำหรับองค์กรที่ใช้โซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลจากผู้จำหน่ายหลายราย เมื่อเทียบกับองค์กรที่ใช้แนวทางจากผู้จำหน่ายเพียงรายเดียว

มอบการปกป้องข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมความยืดหยุ่นรองรับการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างมั่นใจ
เดลล์ เทคโนโลยีส์ กำลังตอบโจทย์ภาพรวมด้านไอทีที่ล้ำหน้ายิ่งขึ้นด้วยโซลูชันที่ช่วยองค์กรปกป้องเวิร์กโหลดทั้งแบบดั้งเดิมและเวิร์กโหลดสมัยใหม่ด้วยแนวทางเดียวกัน เดลล์ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการปกป้องข้อมูลแบบมัลติคลาวด์ ช่วยปกป้องข้อมูลขนาด 7 เอ็กซาไบต์ครอบคลุมผู้ให้บริการพับบลิคคลาวด์รายหลักทั้งหมด ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และการออกแบบวิศวกรรมที่คล่องตัว รวมถึงการผสานรวมเข้ากับ VMware และผู้นำอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างแน่นแฟ้น ทำให้เดลล์ ยังคงเป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์เพื่อการปกป้องข้อมูลทั่วโลก เดลล์ได้นำเสนอหนึ่งในสายผลิตภัณฑ์ที่สมบรูณ์แบบและครบวงจรมากที่สุดในอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือทางไซเบอร์ที่เอดจ์ และโครงสร้างหลักของดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงสภาพแวดล้อมแบบมัลติคลาวด์ ด้วยการมอบโซลูชันเช่น Dell EMC PowerProtect Cyber Recovery และ Dell EMC PowerScale พร้อม Superna Eyeglass Ransomware Defender

การนำเสนอซอฟต์แวร์ใหม่ และบริการด้านการบริหารจัดการ มีดังต่อไปนี้
· Dell EMC PowerProtect Data Manager ที่เพิ่ม Transparent Snapshots เพื่อมอบแนวทางใหม่ที่แตกต่างให้กับองค์กรในการปกป้อง VMware VMs ได้อย่างครอบคลุม การลดความซับซ้อนและทำให้การแบ็คอัพข้อมูลในระดับรูปภาพของ VM ดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ อีกทั้งใช้ระบบโครงสร้างน้อยลง จึงทำให้ Transparent Snapshots สามารถแบ็คอัพได้เร็วขึ้นถึง 5 เท่าและลดความหน่วงของ VM ลงได้ถึง 5 เท่า ช่วยให้องค์กรมั่นใจเรื่องความพร้อมในการใช้ข้อมูล VM ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

· Dell EMC PowerProtect appliances ที่มาพร้อม Smart Scale ช่วยให้องค์กรบริหารจัดการอุปกรณ์ปกป้องข้อมูลได้หลากหลายในระดับเอ็กซาไบต์ ช่วยให้บุคลากรด้านไอทีตัดสินใจอย่างมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการเรื่องความจุข้อมูลและตามติดการเติบโตของข้อมูลได้ โดย Smart Scale ช่วยให้ลูกค้าสามารถตั้งค่าอุปกรณ์ได้หลากหลายเสมือนเป็นมาจากแหล่งเดียวกัน โดยให้ความสามารถในการมองเห็นและบริหารจัดการชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้ในหนึ่ง entity โดยจัดการอุปกรณ์ PowerProtect ได้มากถึง 32 ตัวและรองรับ logical capacity ได้มากกว่า 3 เอ็กซาไบต์ ทั้งนี้ องค์กรยังสามารถขยายการใช้ทรัพยากรได้สูงสุด และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วยการมอนิเตอร์ในเชิงรุกรวมถึงบริหารจัดการข้อมูลสำรองได้โดยเรียบง่ายไม่ซับซ้อน

· Dell Technologies Managed Services สำหรับ Cyber Recovery Solution ช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องและลดความเสี่ยงของข้อมูลสูญหายด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญจากเดลล์ ช่วยบริหารจัดการการดำเนินงานในส่วน Cyber Recovery Vault ในแต่ละวัน พร้อมสนับสนุนกิจกรรมด้านการกู้คืน บริการด้านการบริหารจัดการเหล่านี้สร้างบนสายผลิตภัณฑ์ด้านการบริการของเดลล์ ทั้งการให้คำปรึกษา การปรับใช้งานและการสนับสนุน ซึ่งช่วยลูกค้าปกป้องและบริหารจัดการความจุสำหรับข้อมูลสำคัญทางธุรกิจได้

“เมื่อองค์กรใช้บริการจากผู้ให้บริการในการแบ็คอัพ การกู้คืนข้อมูลจากภัยพิบัติ และบริการ Cyber Recovery as-as-Service องค์กรจะต้องมั่นใจได้ว่าผู้ให้บริการสามารถมอบบริการได้อย่างครอบคลุมและแข่งขันได้ การเป็นพันธมิตรกับเดลล์ เทคโนโลยีส์ ผู้นำด้านการปกป้องข้อมูล ช่วยให้เรามั่นใจและมอบโซลูชันนวัตกรรมแก่ลูกค้าเพื่อช่วยให้ติดตามภาพรวมด้านดิจิทัลที่มีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ได้ทันท่วงที” แบร์รี่ ซิลิก ซีทีโอ ด้านคลาวด์ และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Macquarie Cloud Services กล่าว

“เราทำงานร่วมกับองค์กรทั่วโลกเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรเหล่านี้ขับเคลื่อนการใช้งานด้านข้อมูลที่เชื่อมต่อกันในระบบดิจิทัลด้วยความปลอดภัย” นาธาน แวนเดนเบิร์ก ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีทรานส์ฟอร์เมชัน ของ NTT กล่าว “ในทั่วโลกเราได้ตรวจพบเหตุการณ์คุกคามจากแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 และการคุกคามอื่นๆ ที่เพิ่มเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ในปี 2021 และด้วยความต้องการด้านการปกป้องข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น การเปิดตัว Transparent Snapshots จึงเป็นนวัตกรรมจากเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่เข้ามาถูกจังหวะ สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรก็คือการมีมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินงานที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนและคุ้มค่าใช้จ่าย ในขณะที่ยังคงนำเทคนิคต่างๆ มาปรับใช้ในเชิงรุกเพื่อลดความเสี่ยงพร้อมกับให้การปกป้องข้อมูล ซึ่งนั่นคือศักยภาพของ Transparent Snapshots”

ดริว ฮิลลส์ นักวิเคราะห์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบไอที ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของ USC Australia กล่าวว่า “Transparent Snapshots ใน PowerProtect Data Manager ช่วยให้แบ็คอัพเวอร์ชวลแมชชีนได้อย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนโดยใช้ระบบโครงสร้างเพียงน้อยนิด และไม่เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน การตัดขั้นตอนในการใช้งานหรือจัดการพร็อกซี่เพื่อย้ายข้อมูล ทำให้สามารถแบ็คอัพเวอร์ชวลแมชชีนได้เร็วขึ้น จึงช่วยประหยัดเวลา” 

เทียน เบ็ง อึง รองประธานอาวุโส และผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายช่องทางของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น กล่าว “การจัดการงานในระบบงานแบบไฮบริดนำพาภัยคุกคามแบบใหม่ที่ทำให้แนวปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพกลายเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจในทุกขนาด การปฏิรูปด้านการรักษาความปลอดภัยได้สำเร็จขึ้นอยู่กับการทำงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับระบบนิเวศที่กว้างขวางมากขึ้น ด้วยการร่วมมือกับผู้จำหน่ายในการนำเสนอโซลูชันที่ดีที่สุดเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับภัยคุกคามพร้อมความรอบรู้ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งพันธมิตรด้านช่องทางของเราจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันนวัตกรรมใหม่ที่เรานำออกสู่ตลาด รวมถึงการนำเสนอโซลูชันใหม่ๆ เช่น Transparent Snapshots และ Smart Scale ที่จะมอบความเร็วและความคล่องตัวมากขึ้นให้กับองค์กรได้เท่าทันเพื่อปกป้องระบบโครงสร้างแบบเวอร์ชวล”

“เนื่องจากแรนซัมแวร์ และการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบอื่นๆ ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องก้าวให้เร็วให้ทันภัยคุกคามเหล่านี้ด้วยการใช้นวัตกรรม” ฟิล กู้ดวิน รองประธานฝ่ายวิจัย IDC กล่าว “ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการบริการของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ออกแบบมาเพื่อช่วยองค์กรต่างๆ เพิ่มความสามารถในการกู้คืนข้อมูลสำคัญทางธุรกิจจากการโจมตีทางไซเบอร์โดยที่เกิดการชะงักน้อยที่สุด”

จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม adslthailand พบว่า Dell technologies เผยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าองค์กรทั่วโลก กำลังต้องบริหารจัดการข้อมูลในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าจาก 5 ปีที่ผ่านมา ที่ผ่านมาผู้มีอำนาจตัดสินใจจำนวน 82 เปอร์เซ็นต์ ในทั่วโลก และ 82 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียแปซิฟิก กำลังกังวลใจว่าโซลูชันปกป้องข้อมูลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถรับมือกับความท้าทายด้านธุรกิจในอนาคตได้ พร้อมกันนี้องค์กร 62 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก และ 68 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียแปซิฟิกกลัวว่ามาตรการด้านการปกป้องข้อมูลในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ ในขณะที่อีก 74 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และ 72 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียแปซิฟิก เห็นพ้องกันว่าองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากพนักงานทำงานจากบ้านกันมากขึ้น