2 พ.ย. 2564 1,300 26

PowerLight และ Ericsson สาธิตการจ่ายไฟเลี้ยงให้สถานีฐาน 5G แบบไร้สาย ด้วยแสงเลเซอร์

PowerLight และ Ericsson สาธิตการจ่ายไฟเลี้ยงให้สถานีฐาน 5G แบบไร้สาย ด้วยแสงเลเซอร์

ภาพการใช้ลำแสงเลเซอร์ (laser beaming) ส่งสัญญาณเพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับเสาส่งสัญญาณ 5G แบบไร้สาย และโดรน (ภาพประกอบจาก Ericsson / PowerLight)

วันนี้เรามาดูเทคโนโลยีการส่งสัญญาณเลเซอร์เพื่อป้อนพลังงานให้กับเสาหรือสถานีส่งสัญญาณ 5G โดย PowerLight Technologies และ Ericsson แบบไร้สาย เพื่อให้บริการ 5G

เป็นเวลา 2 ปี ที่ PowerLight ใช้การส่งสัญญาณ (beamed-power) ให้กับอุปกรณ์ 5G ของ Ericsson เพื่อช่วยจ่ายพลังงานแบบไร้สายให้กับอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย

งานนี้ไม่ได้ตอบสนองการใช้งานในเมือง แต่เริ่มมองภาพของการใช้งานในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ทำให้ยังใช้งานอุปกรณ์ได้อยู่ในสภาวะวิกฤต โดยการทดสอบนี้มองเรื่องการตั้งค่าพารามิเตอร์ในเรื่องของพลังงานและระยะทาง โดยใช้ฮาร์ดแวร์ของ Ericsson ในกรณีนี้ สถานี 5G ต้องการพลังงานขั้นต่ำ 200 วัตต์

[removed][removed]

วิศวกรของ Ericsson ติดตั้งอุปกรณ์สถานีฐาน Ericsson Streetmacro 6701 และตัวรับ PowerLight laser light receiver เข้าไปเสาขนาด 22 ฟุต ในที่จอดรถ ห่างจากสถานที่ทดสอบและโรงรถ 400 ฟุต ระบบ PowerLight แปลงไฟเป็นลำแสงเลเซอร์อินฟราเรดในการรับส่งข้อมูล โดยแปลงลำแสงเลเซอร์กลับไปเป็นไฟฟ้าพลังงานสูง


จากการทดสอบ เป็นการส่งสัญญาณจากโรงรถ ไปยังลานจอดรถฝั่งปลายทาง จากนั้นปั่นพลังงานแบตเตอรี่จ่ายไฟให้กับสถานีฐาน นี่คือการยืนยันว่าไม่ใช้สายเคเบิลใดๆ และสถานที่ไหนที่มีข้อจำกัด เรายังสามารถจ่ายพลังงานได้แบบไร้สาย ไร้ข้อจำกัด


การทดสอบนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบ PowerLight safety system หากมีสิ่งกีดขวางใต้ “safety ring” ที่กระทบการรับส่งการยิงลำแสงเลเซอร์ของ PowerLight ไปยังปลายทาง เลเซอร์จะหยุดการทำงานภายในมิลลิวินาที แต่ระบบยังจ่ายพลังงานให้กับแบตเตอรี่ เพื่อจ่ายไฟให้กับสถานีฐาน 5G ได้อยู่ จนกว่าจะไม่มีสิ่งกีดขวาง จากนั้นลำแสงเลเซอร์ก็จะกลับมาทำงานอีกครั้ง โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก


นี่คือจุดเริ่มต้นของการจ่ายพลังงานแบบไร้สาย ที่ Ericsson สะท้อนภาพการรองรับ PowerLight กับอุปกรณ์ Radio Access Network โดยทั้ง PowerLight และ Ericsson มุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรม ถือเป็นก้าวแรกเพื่อยืนยันความเป็นไปได้ของการใช้ลำแสงเลเซอร์รองรับการจ่ายพลังงานแบบไร้สาย (power-cable-free) ให้กับอุปกรณ์ เช่น รถยนต์ ขับเคลื่อนและนำทางอัตโนมัติ โดรน อุปกรณ์จำพวก IoT sensor และหลอดไฟ อุปกรณ์ ultra-low-power ต่างๆ และต่อจากนี้ไป PowerLight มีความมุ่งหวังที่จะจ่ายพลังงานระดับ กิโลวัตต์ แบบไร้สาย โดยมีระยะทางในรัศมี 1 กิโลเมตร (0.6 ไมล์) หรือมากกว่านั้น

ทุกวันนี้เรามีการชาร์จไร้สายบนอุปกรณ์เล็กๆ อย่างมือถือ นาฬิกา และนี่คือนวัตกรรมของ PowerLight และ Ericsson ในการจ่ายพลังงานไร้สาย (wireless power transmission) สำหรับระบบที่ใหญ่ขึ้นต่อไป เอาจริงๆ มีหลาย use case แต่ 5G เป็นจุดเริ่มต้น

geekwire ericsson