10 พ.ย. 2564 1,079 0

AIS เปิดเวทีให้คนไทย ฉายไอเดีย 'AIR INNO HACK นวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน' ต่อยอดความสำเร็จ Innovation ภายใต้โครงการ ‘JUMP THAILAND 2021’

AIS เปิดเวทีให้คนไทย ฉายไอเดีย 'AIR INNO HACK นวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน' ต่อยอดความสำเร็จ Innovation ภายใต้โครงการ ‘JUMP THAILAND 2021’

หนึ่งในเป้าหมายของการพาคนไทยมาร่วมยกระดับสังคมไทยกับโครงการ JUMP THAILAND จาก AIS Academy ที่ตอกย้ำเป้าหมายภารกิจคิดเผื่อ เพื่อคนไทย คือ การชวนคนไทยกระโดดเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแข็งแกร่งด้วยนวัตกรรม ผ่านการทำงานของทีม AIS NEXT หน่วยงานขับเคลื่อนนวัตกรรม ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพโชว์ไอเดียร่วมการแข่งขัน Virtual Hackathon ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน หรือ AIR INNO HACKเพื่อเฟ้นหาสุดยอดความคิดนวัตกรรมในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาได้จริงอย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งมี Startup เข้าร่วมโครงการกว่า 180 ทีม โดยทีม DONE DO DEE เป็นผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ ด้วยผลงาน “เลิกเผาด้วยคาร์บอนเครดิต” ลด PM 2.5 และปัญหาดินเสื่อมจากการเผาไร่ของเกษตร ด้วย Carbon Coin แลกเหรียญเป็นเงินสดใช้ในการค้ำประกันในการกู้เงินทุน หรือเครื่องมือทางการเกษตร



กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท AIS และกลุ่มอินทัช  อธิบายว่า “JUMP TO INNOVATION เป็นหนึ่งในแกนสำคัญของโครงการ JUMP THAILAND 2021 จาก AIS Academy เพราะเราเชื่อว่านวัตกรรมจะสามารถนำมาสร้างคุณค่าเพื่อยกระดับสังคม หรือแม้กระทั่งแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเห็นผล สำหรับในปีนี้เราได้หยิบเอาเรื่องของคุณภาพอากาศที่ยังคงสร้างปัญหาให้กับสังคมไทยในทุกช่วงปลายปี ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะจากฝุ่น PM 2.5 มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากได้มีการระดมสมองจากทุกภาคส่วน  โดยเฉพาะภาคประชาชน หรือ กลุ่ม Startup ที่เชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีมาแก้ปัญหา โดย AIS พร้อมเป็นแกนกลางเปิดโอกาสให้นำเสนอไอเดีย และร่วมผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณะได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่วันนี้เราได้หลากหลายไอเดียดีๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อสู่นวัตกรรมเพื่อแก้ไขวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศได้ รวมไปถึงการได้ร่วมแชร์ไอเดีย ฝึกวิธีคิด ที่จะนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาแก่ผู้เข้าร่วมโครงการอีกด้วย”



อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริมว่า “จากการดำเนินโครงการมาตั้งแต่ต้นปีทำให้เราเห็นว่าคนไทยมีศักยภาพมากพอในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างสรรค์และนำมาแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะในเรื่องของมลพิษทางอากาศที่สร้างปัญหาให้กับผู้คน และสังคมอย่างมาก แน่นอนว่ากิจกรรมในครั้งนี้ของ AIS จะเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมองเห็นศักยภาพในตัว Startup สัญชาติไทยในการคิดนวัตกรรมเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้แบบก้าวกระโดดต่อไป”




สำหรับ การแข่งขัน Virtual Hackathon ในโครงการ “JUMP THAILAND 2021ได้ใช้โจทย์ในหัวข้อ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน หรือ AIR INNO HACK ที่ผ่านการโหวตจากคนไทยในการนำนวัตกรรมเข้าแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของสังคม เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้กับ Startup ได้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อโชว์แนวคิดศักยภาพและนวัตกรรมที่สามารถสร้างคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพอากาศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับเกียรติจากคณะกรรมผู้เชี่ยวชาญจากสายงานต่างๆ กว่า 10 ท่านร่วมตัดสินผลงาน โดยเกณฑ์ในการตัดสิน 3 ด้านหลักคือ


1.        มิติของตลาด (Market Desirability)ไอเดียที่คิดขึ้นต้องไปต่อยอดในการสร้างสินค้าและบริการได้

2.        มีความเป็นไปได้ (Operational Feasibility) ที่สามารถไปใช้ได้จริง ตอบโจทย์สังคม

3.    ความต่างที่สร้างสรรค์ (Uniqueness) คือนวัตกรรมนั้นๆต้องมีความแตกต่างกว่าที่ผ่านมา


โดยการแข่งขันได้เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายซึ่งได้มีการจัด Final Pitching ในรูปแบบออนไลน์จนได้ผู้ชนะไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นคือทีม DONE DO DEE ที่นำเสนอผลงานนวัตกรรมมุ่งลด PM 2.5 จากการเผาไร่ของเกษตรกร ด้วยแนวคิด “เลิกเผาด้วยคาร์บอนเครดิต” ลด PM 2.5 และปัญหาดินเสื่อมจากการเผาไร่ของเกษตร  โดยมี 4 ขั้นตอน คือ ลง ลด รับ แลก ที่ชวนเกษตรกร ลงทะเบียนเลิกเผา จากนั้นใช้ข้อมูลดาวเทียมตรวจสอบว่าเกษตรกรเผาจริงหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  IPCC คำนวณว่า ลดการเลิกเผา ของเกษตรกรคิดเป็นเท่าไหร่ และนำคาร์บอนเครดิตไปขายให้กับภาคเอกชน เพื่อนำเงินดังกลับคืนสู่เกษตรกรให้รับในรูปแบบ Carbon Coin โดยเหรียญดังกล่าวเกษตรกรสามารถนำไปแลกเป็นเงินสด หรือจะใช้ในการค้ำประกันในการกู้ อีกทั้งยังสามารถไปแลกเครื่องมือทางการเกษตรได้อีกด้วย ที่สำคัญเศษฟางที่เหลือจากการทำเกษตรทางทีมดังกล่าวพร้อมเป็นตัวกลางในการนำไปขายเศษพืชให้กับโรงงานถ่านหินชีวภาพและโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทาง


“ภารกิจเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนาและต่อยอด เพื่อแก้ไขปัญหาพร้อมยกระดับคุณภาพอากาศ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย การแข่งขันในครั้งนี้นับว่าเป็นเวทีที่สำคัญในการสร้างสังคมนวัตกรรมให้กับคนไทย ในขณะที่โลกยังคงหมุนต่อไปและไม่มีวันที่เราจะหยุดก้าวไปข้างหน้า วันนี้ AIS พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ และพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด” อราคิน กล่าวทิ้งท้าย



ทั้งนี้ นอกจากโครงการ JumpThailand 2021 virtual Hackathon ทาง AIS จะมีอีกหนึ่งโครงการ ในแกนของ JUMP TO INNOVATION ที่เตรียมเปิดตัวในเร็วๆ นี้ โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ Startup และผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการสร้างนวัตกรรม จากสถาบันการศึกษาระดับโลก ในโครงการ Jump Bootcamp 2022 โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.jumpthailand.earth และ FB JUMPTHAILAND