กางแผนบิ๊กดีล DTAC & TRUE พร้อมตั้งบริษัทใหม่ระดมทุน 200 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ลุยทุ่มระบบ AI cloud และด้านอวกาศ
ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราได้เห็นได้ว่ามูลค่าทางโทรคมนาคมมีจำนวนที่ลดน้อยมาก ซึ่งเราเป็นจุดสำคัญในการเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจ แต่นับวันเรามีบทบาทที่น้อยลง เราไม่ได้การเป็นท่อส่งอย่างเดียว การปฏิวัติในทุกเทคโนโลยีใหม่ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรามีข้อจำกัดในการเพิ่มมูลค่าต่อได้นี้คือข้อจำกัดของการดำเนินการ เราเห็นบทบาทใหม่ของเราคือ เราต้องการเป็นระบบนิเวศทั้งการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ อุตสาหกรรม ทั้งโรงเรียน-ด้านวิทยาศาสตร์ทุกด้าน การสร้างนวัตกรรมใหม่ เพิ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ทั้ง 2 บริษัท ที่เราต้องการให้มากกว่าบริษัทโทรคมนาคม ทั้งการลงทุนระบบ AI cloud และด้านอวกาศ
เราต้องระดมทุนให้มากกว่า 200 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ให้เพียงพอต่อการรวมศูนย์ของการลงทุนในระดับชาติไทยและระดับโลก ผ่านโครงสร้างพื้นฐานใหม่ คือ การก้าวเข้าสู่เทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลง สู่ยุคที่ความยั่งยืน ทุกอย่างต้องทำให้เกิดผลทางนวัตกรรมใหม่
ทางเราต้องขอบพระคุณลูกค้าทั้ง 2 บริษัท ขอขอบพระคุณผู้ถือหุ้น เพื่อให้เราสามารถสร้างคุณประโยชน์สูงสุด ในความไว้วางใจที่กลุ่มเทเลนอร์ และซีพี เพื่อสานต่อให้ผู้บริโภค ประชาชนชาวไทย เราจำเป็นต้องผนึกกําลังกันเพื่อแข่งขันกับชาติมหาอำนาจของโลก โดยดำเนินธุรกิจในรูปแบบ PPP เพื่อให้เราได้รับความไว้วางใจระหว่างกันและกัน
ซิคเว่ เบรคเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ กล่าวว่า เราต้องส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูค้าของเรา โดยไตรมาสที่หนึ่งของปี 2565 กระบวนการการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางธุรกิจ หลังจากนั้นไตรมาส 2 พ.ศ. 2565 เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงตามเงื่อนไขทางธุรกิจได้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะการได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นและหน่วยงานจากภาครัฐ ก็จะดำเนินการตั้งบริษัทเพื่อถือหุ้นต่อไป ซึ่งเป็นการวางแผนร่วมกันแบบวันต่อวัน โดย true dtac ลุยธุรกิจใหม่ AI cloud และด้านอวกาศ เป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ
“ข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างฐานของเราในเอเชียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างคุณค่า และพัฒนาตลาดในภูมิภาคนี้ต่อไปในระยะยาว เรามีความมุ่งมั่นและพันธกิจต่อทั้งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียมาอย่างยาวนาน และความร่วมมือครั้งนี้ก็จะเสริมความมุ่งมั่นและพันธกิจนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น การที่เราสามารถเข้าถึงทั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพดีที่สุด จะเป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญสำหรับบริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นในครั้งนี้”
“บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น จะตั้งกองทุนมูลค่าประมาณ 100 – 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย”
อย่างไรก็ตาม ในอีกทางนึงหลายคนสงสัยและเคลือบแคลงใจระหว่างดีลสำคัญของ 2 ค่าย ดีแทคและทรู และกำลังกังวลในเรื่องการถือครองหุ้น (ตามกฏหมายไทย) ซึ่งต้องทำการแยกแยะระหว่างดีลครั้งนี้ ทรูและดีแทคบอกไปในตอนต้นว่าสัดส่วนหุ้นในตัวบริษัทความร่วมมือครั้งใหม่ที่จะเกิดต้องเท่าเทียมกัน และไม่เกี่ยวข้องกับหุ้นของเทเลนอร์ทั้งหมด โดยเทเลนอร์ก็ไม่ได้เสียโอกาสทางธุรกิจในไทยและ "ไม่ใช่การขายกิจการ" แต่อย่างใดทั้งสิ้น
ข้อมูลข่าวเพิ่มเติม : ดีลร้อนล่าสุด!! เครือซีพี และกลุ่มเทเลนอร์ สร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ปรับโครงสร้างองค์กร (Transformation) สู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ https://www.adslthailand.com/post/9762