25 พ.ย. 2564 1,299 15

ดีแทคชู “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม” ฟื้นฟูประเทศก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 ย้ำภารกิจใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล สู้ความเหลื่อมล้ำในวันที่โครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป

ดีแทคชู “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม” ฟื้นฟูประเทศก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 ย้ำภารกิจใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล สู้ความเหลื่อมล้ำในวันที่โครงสร้างสังคมเปลี่ยนไป

ดีแทคบอกเล่าภารกิจในช่วงวิกฤตโควิด-19 ผ่านแคมเปญโฆษณา “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม” ที่มุ่งส่งเสริมกลุ่มคนเปราะบางให้เข้าถึงและสามารถใช้ดิจิทัล เพื่อเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกับกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม พร้อมชี้ให้ทุกภาคส่วนในสังคมเห็นถึงความรุนแรง และผลกระทบเชิงลึกของปัญหา “ช่องว่างทางดิจิทัล” ที่กำลังซ้ำเติมโครงสร้างสังคมไทยที่กำลังบอบช้ำด้วยปัญหาความเหลื่อมล้ำ และยังต้องเปลี่ยนผ่านไปให้ทันกับอัตราเร่งของดิจิทัลทั่วโลก

รับชมแคมเปญ “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม” เรื่องการศึกษาเด็กไทย คลิก




ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคมีความเชื่อว่าโทรคมนาคมสามารถดำเนินบทบาทนำในการสนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัล (digital inclusion) ผ่าน ภารกิจ คือ 1. สัญญาณเน็ตเพื่อทุกคน  (Good For All Connectivity) 2. การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (Affordability Service) 3. การเพิ่มทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ร่วมฟื้นเศรษฐกิจพลิกชีวิตชุมชน มุ่งสร้างทักษะดิจิทัลในเยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้มีรายได้น้อย โดยดีแทคส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่เท่าเทียมและยั่งยืน พร้อมรับกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต”

 

K-SHAPED RECOVERY ในภาคการศึกษา: โฉมหน้าความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในเด็กไทย


ภาคการศึกษาเป็นอีกหนึ่งภาคที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง เมื่อนักเรียนเพิ่มอีกราว 1.2 ล้านคนทั่วโลกต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนถูกสั่งปิดเพื่อควบคุมโรคระบาด นักเรียนไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตสุขภาพครั้งนี้เช่นเดียวกับที่อื่นของโลก ข้อมูลจากมูลนิธิมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียระบุว่า มีนักเรียนไทยกว่า 15 ล้านคนในทุกระดับชั้นต้องหยุดเรียน เพราะโรงเรียนและสถานศึกษาถูกสั่งปิดในช่วงการระบาดของโควิด -19 ตลอดช่วงปี 2563 – 2564 ที่ผ่านมา เป็นวิกฤตใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยมีระบบการศึกษาแบบสมัยใหม่ ที่สำคัญ ไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์อย่างมีคุณภาพ เพราะสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขของที่นักเรียนแต่ละคนต้องเผชิญมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพการเรียนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น ความพร้อมของโรงเรียนในการปรับตัว การออกแบบหลักสูตรและวิธีการสอน (pedagogy) ทักษะการสอนของครู ความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมไปถึง การที่เด็กบางคนไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ตได้จากข้อมูลสถิติแห่งชาติปี 2562 ยังมีเด็กมากถึง 14.7% หรือกว่า 2.4 ล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต สำหรับเด็กที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้นั้น กว่า 94% ของเด็กเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางมือถือเป็นหลัก ในขณะที่เข้าผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและแล็ปท็อปเพียงแค่ 55 % และ 16% ตามลำดับ และมีครัวเรือนยากจน (รายได้ต่ำกว่า 200,000 บาท/ปี) เพียง 3% เท่านั้นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ส่วนที่เหลือล้วนแต่ต้องใช้สมาร์ทโฟนในการท่องโลกออนไลน์ กล่าวได้ว่า สำหรับครัวเรือนที่มีฐานะยากจน หรือในที่นี้ เราเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า เป็นขาล่างของตัว K ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์มือถือแทบจะเป็นช่องทางเดียวที่พวกเขาทำได้


ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ดีแทคได้สนับสนุน 2,000 ซิมพร้อมแพ็กเก็จเน็ตอันลิมิเต็ดความเร็ว 4 Mbps แก่กลุ่มเด็กนักเรียนยากจนพิเศษ ของ กสศ. นำร่องในเขตกรุงเทพฯ สำหรับการเรียนออนไลน์เป็นการเร่งด่วนลดอุปสรรคการเรียนรู้ เตรียมพร้อมหาทางออกระยะยาวในยุคเรียนออนไลน์ มุ่งสู่เป้าหมายความเท่าเทียมทางดิจิทัล (Digital inclusion) และลดการปิดกั้นแม้เกิดสถานการณ์โควิด-19


เมื่อ ‘การเชื่อมต่อ’ ผู้สูงวัยคือ ‘การเชื่อมต่อ’ ปัจจุบันกับอนาคต


ในหนังสือเรื่อง The Industries of the Future โดยอเล็กซ์ รอสส์ (Alec Ross) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชื่อดังทำนายไว้ว่า การแพทย์และบริการการสาธารณสุขจะเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกดิสรัปต์และมีนวัตกรรมใหม่ออกมามากที่สุด โดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีชีวภาพจะเปลี่ยนโฉมหน้าบริการสุขภาพชนิด ‘ปฏิวัติ’ แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มที่สมควรจะได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางการแพทย์มากที่สุด กลับได้ดอกผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุผลว่า ‘ผู้สูงวัย’ เป็นกลุ่มคนที่เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้น้อยที่สุด อันที่จริงไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพเท่านั้น ความเหลื่อมล้ำดิจิทัลทำให้ผู้สูงวัยต้องเสียโอกาสใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น บริการการด้านการเงิน การซื้อสินค้าและบริการ กิจกรรมบันเทิง และสันทนาการ การสั่งและส่งอาหาร เป็นต้น นับตั้งแต่ปี 2548 ประเทศไทยเป็น ‘สังคมสูงวัย’ (Aging Society) อย่างเป็นทางการตามนิยามขององค์การสหประชาชาติไปเรียบแล้ว เมื่อสัดส่วนจำนวนประชากรที่อายุเกิน 60 ปีคิดเป็นสัดส่วน 10% ของประชากรทั้งประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น คาดการณ์ว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่เข้าสู่ “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด และจะเข้าสู่สู่ภาวะ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ใน 2578 เมื่อประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โจทย์สังคมสูงวัยไม่ใช่โจทย์ของผู้สูงวัยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรทั้งหมดที่สังคมต้องรับผิดชอบดูแลร่วมกัน ดังนั้น สังคมสูงวัยจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของคนทุกรุ่นและส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม


ความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงวัยแบ่งได้เป็น 2 มิติ ได้แก่ การเข้าถึง (access) และการปรับใช้ (adopt) ซึ่งประเทศไทยมีปัญหาในทั้งสองมิติ สำหรับการเข้าถึง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ว่า แม้กลุ่มผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว โดยเติบโตจาก 2.2% ในปี 2556 มาเป็น 10.3% ในปี 2561 แต่หากเทียบกับผู้สูงวัยอีก 90% หรือประมาณ 10 ล้านคน ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตได้เลย ทั้งนี้ผู้สูงวัยส่วนใหญ่เข้าถึงอินเทอร์เนตผ่านทางสมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้สูงวัยใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต กล่าวคือเป็นจำนวนมากถึง 93.7% ทิ้งห่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอันดับสองที่ 12.2% สมาร์ทโฟนจึงแทบจะเป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้สูงวัยใช้ท่องอินเทอร์เน็ตในเวลานี้


ดีแทคให้ความสำคัญกับการติดอาวุธดิจิทัลให้ผู้สูงวัยผ่านโครงการ “ดีแทคเน็ตทำกิน” ในภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ เพื่อมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาผู้สูงวัยในการสร้างเสริมทักษะและความรู้ในการค้าขายออนไลน์ การแสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจดิจิทัล รวมทั้ง การให้ความรู้เพื่อรับมือกับภัยเสี่ยงบนโลกออนไลน์ให้ผู้สูงวัยด้วย และให้ความช่วยเหลือผู้สูงวัยมากกว่า 8,000 รายจากทีมดีแทคคอลเซ็นเตอร์ให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านแอปพลิเคชันของโรงพยาบาลรัฐบาล

 


เศรษฐกิจของ ‘คนตัวเล็ก ที่ต้องใจใหญ่’ ในยุคโควิด-19

การสำรวจ Thai Digital Generation 2021 ระบุว่า การเข้าถึงและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลคือ หัวใจสำคัญของการปรับตัวในกลุ่มผู้ประกอบการทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีความเปราะบางสูง โดยบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่าจะได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจทางลบน้อยกว่า (คิดเป็น 60% ของผู้ที่สูญเสียรายได้) เมื่อเทียบกับผู้ใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำ (คิดเป็น 72% ของผู้ที่สูญเสียรายได้) และจากการประเมินสถานการณ์ของ สสว. (ในช่วงกลางปี 2563) หากเศรษฐกิจไทยถดถอยประมาณ 1% ธุรกิจในกลุ่ม MSME จะถดถอยราว 3.3% หรืองานศึกษาของสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่เคยประเมินไว้ว่า หากเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ถดถอย 5.5-6 % มูลค่าธุรกิจรวมของ MSME ก็จะหดตัวราว 6-6.5% เป็นต้น

นอกจากนี้ กลุ่มคนเปราะบาง ได้แก่ ผู้พิการ ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น ก็ยังดิ้นรนทำมาหากินในฐานะผู้ประกอบการตัวเล็กในระบบเศรษฐกิจด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงโควิด-19 ดีแทคได้เร่งนำโครงการดีแทคเน็ตทำกินสอนผู้ประกอบการตัวเล็กให้เข้าถึงช่องทางขายออนไลน์เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วยสร้างรายเพิ่มได้ให้มากกว่า 50% และผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ไปด้วยกัน