25 พ.ย. 2564 863 0

หัวเว่ยเปิด HUAWEI Health Lab ที่ใหญ่ที่สุด เสริมศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย

หัวเว่ยเปิด HUAWEI Health Lab ที่ใหญ่ที่สุด เสริมศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย

หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป เผยโฉม HUAWEI Health Lab ศูนย์รวมการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี และสมาร์ทดีไวซ์เกี่ยวกับสุขภาพแห่งใหญ่ที่สุดอย่างเป็นทางการ ณ ทะเลสาปซงชาน เมืองตงกวน ประเทศจีน โดยศูนย์วิจัยใหม่นี้มีพื้นที่ทั้งหมด 4,680 ตารางเมตร นับเป็นเงินลงทุนด้านการค้นคว้าวิจัยกว่า 200 ล้านหยวน (มากกว่า 1 พันล้านบาท) รองรับการทดสอบกว่า 80 ประเภท อาทิ การค้นคว้าขั้นสูง การพัฒนาอีโคซิสเต็ม การจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกาย ซึ่งเอื้อต่อการสร้างสรรค์และทดสอบสมาร์ทดีไวซ์สำหรับสวมใส่สุดอัจฉริยะของหัวเว่ย

ในปัจจุบันหัวเว่ยได้เปิดศูนย์วิจัยด้านสุขภาพ (Health Lab) จำนวนมากเพื่อศึกษาเทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพ รวมไปถึงห้องแล็บในซีอานที่มุ่งเน้นไปยังการวิจัยกรณีศึกษาล้ำสมัยต่างๆ สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะให้ HUAWEI Health Lab สาขาทะเลสาปซงชานนี้ เป็นสถาบันการค้นคว้าและวิจัยระดับโลกทางด้านสุขภาพและสมรรถภาพทางกายที่ทุ่มเทเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การสร้างมาตรฐาน การรับรองคุณภาพ การจัดแสดงนวัตกรรม และกิจกรรมบ่มเพาะเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมสมาร์ทดีไวซ์ทางสุขภาพ


 

สำหรับช่วงปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้รุกตลาดสมาร์ทดีไวซ์สำหรับสวมใส่ทั้งในกลุ่มหูฟังไร้สาย และนาฬิกาสมาร์ทวอทช์มากมายมาตอบสนองความต้องการด้านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพของผู้บริโภค โดยล่าสุดได้เปิดตัว HUAWEI WATCH GT 3 Series สมาร์ทวอทช์ที่โดดเด่นในด้านอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ยาวนานถึง 14 วัน[1] และอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ด้านสุขภาพทั้งเทคโนโลยีวัดค่าต่างๆ ของร่างกาย[2] อาทิ HUAWEI TruSeen™ 5.0+ ที่ใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจ และการวัดระดับออกซิเจนในเลือด (SpO2) รวมไปถึงฟีเจอร์ช่วยฝึกซ้อมร่างกายอย่าง Intelligent Dynamic Adjustment Plan และการประมวลผลการวิ่ง Running Ability Index (RAI) โดยมีรุ่นย่อยพิเศษคือ HUAWEI WATCH GT Runner สำหรับนักวิ่งโดยเฉพาะ

 

เปิดบ้าน HUAWEI Health Lab

หัวเว่ยได้นำเสนอผลการค้นคว้าที่ผ่านมาเกี่ยวกับสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย ด้วยการนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมศูนย์วิจัยผ่านช่องทางออนไลน์ โดยอธิบายถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ศูนย์วิจัยของหัวเว่ยได้ดำเนินการเพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาเพื่อตอบสนองตลาดสมาร์ทดีไวซ์

 

โครงการหนึ่งที่นำเสนอในงานได้ใช้ห้องแล็บพื้นที่ราบสมมติ มูลค่า 3 ล้านหยวน (มากกว่า 15,000 ล้านบาท) เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมบนที่สูงถึง 6,000 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล เพื่อทดสอบว่าระดับออกซิเจนส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์อย่างไร โดยในห้องแล็บจะมีพื้นที่ทำงานให้นักวิจัยสามารถวัดค่าความเปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ในพื้นที่ความสูง และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เพื่อประมวลผลข้อมูลในการนำไปวิเคราะห์ต่อไป




แล็บนี้ยังมีระบบเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหวประเภทเชิงแสง
(Optical motion system) แบบมืออาชีพที่ประกอบด้วยกล้องอินฟาเรดความเร็วสูงกว่า 28 ตัว รองรับช่วงจุดสูงสุดที่อัตรา 10,000 Hz ทำให้บันทึกภาพได้ครอบคลุมรวมถึงบันทึกการเคลื่อนไหวของกระสุนปืนด้วยความแม่นยำที่ระดับมิลลิเมตร โดยการศึกษาการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ควบคู่กับข้อมูลด้านความสูง กับเป้าหมายของหัวเว่ยที่จะพัฒนาและสร้างนวัตกรรมเพื่อสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์สวมใส่


 

 

ในส่วนของพื้นที่การวิจัยสรีรวิทยาการออกกำลังกายยังประกอบไปด้วยอุปกรณ์สำหรับการใช้งานกับโรคหัวใจและหลอดเลือด เครื่องวัดระบบการเผาผลาญ เข็มขัดวันอัตราการเต้นหัวใจ และลู่วิ่งคุณภาพสูงเพื่อให้นักวิจัยได้ใช้ระบบการตรวจจับ เช่น เครื่องมือการวัดค่าการใช้ออกซิเจนของร่างกายเมื่อออกกำลังอย่างเต็มกำลังถึงที่สุด  (VO2 max)  จำนวนแคลอรี่ที่บริโภคเข้าไป และอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย จนถึงวันนี้ ห้องแล็บแห่งนี้ได้รวบรวมข้อมูลการวิ่งไประยะทางกว่า 192,500 กิโลเมตร เทียบเท่ากับระยะทางของเส้นศูนย์สูตรโลกกว่า 4 รอบครึ่ง แล็บนี้ยังช่วยพัฒนากลุ่มอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะของหัวเว่ยให้รองรับการออกกำลังกายมากกว่า 100 โหมด รวมไปถึงการปีนเข้า การว่ายน้ำ การตีปิงปอง การตีกอล์ฟ และกีฬาที่มีหลากหลายการใช้งาน

 

พื้นที่เพื่อบ่มเพาะสุขภาพและร่างกาย เพื่อสุขภาพในทุกแง่มุม

ศูนย์วิจัยด้านสุขภาพหัวเว่ย (HUAWEL Health Lab) ยังคงมุ่งที่จะเป็นแหล่งบ่มเพาะให้กับประสบการณ์และการบริการแบบ Scenario-oriented เป็นหลักที่ผู้บริโภคสามารถสนุกกับประสบการณ์เหล่านั้นได้โดยตรง ซึ่งจะรวมไปถึงการตรวจสอบด้านกายภาพในระดับจุลภาค การออกกำลังกายภายในบ้านหรือโฮมฟิตเนส และการเล่นกีฬาแบบดิจิทัล

 

ในส่วนของบริเวณห้องแล็บการตรวจสอบด้านกายภาพในระดับจุลภาคนั้น ผู้ใช้บริการสามารถใช้อุปกรณ์กลุ่มผลิตภัณฑ์สวมใส่ เพื่อวัดค่าต่างๆ ในด้านกายภาพได้ อาทิ ค่าความดันเลือด ค่าออกซิเจนในเลือด (SpO2)[3] ในส่วนของพื้นที่การออกกำลังกายในร่มนั้น ผู้ใช้บริการสามารถติดตามการออกกำลังกายของตนเองได้ด้วยการเชื่อมต่อหัวเว่ยสมาร์ทวอชท์ หัวเว่ย วิชั่น (HUAWEI Vision) และอุปกรณ์จากแหล่งอื่นๆ ได้ และในส่วนของพื้นที่การเล่นกีฬาแบบดิจิทัล ผู้ใช้บริการสามารถสนุกไปกับการแข่งขันกับเพื่อนขณะเล่นเครื่องกรรเชียงบก หรือเครื่องปั่นจักรยาน โดยภายในแอปพลิเคชัน HUAWEI Health App ยังมีบริการออกกำลังกายอีกกว่า 11 ประเภท เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน โยคะ ฟิตเนส กระโดดเชือก และอื่นๆ อีกมากมาย

 

หัวเว่ยได้ลงทุนอย่างมากมายเพื่อการวิจัยสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้ มีผู้ใช้มากกว่า 5 ล้านรายที่ได้เข้าร่วม HUAWEI Research Program นี้ และมีผู้ใช้กว่า 320 ล้านรายที่ได้ประโยชน์จากบริการด้านสุขภาพและฟิตเนสจากหัวเว่ย ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ HUAWEI Health App เป็นประจำต่อเดือนทั่วโลกโดยเฉลี่ยกว่า 83 ล้านราย

 

นโยบายการปกป้องความเป็นส่วนตัวของหัวเว่ยได้ย้ำชัดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้บริโภคได้รับ ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงได้ปิดกั้นหน่วยงานภายนอกในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หากไม่ได้รับความยินยอมอย่างชัดเจนจากผู้บริโภคก่อน และยังขอให้หน่วยงานภายนอกรวมไปถึงระบบนิเวศอื่นๆ ของหน่วยงานนั้นปฏิบัติและยึดมั่นในมาตรการความเป็นส่วนตัวและระบบความปลอดภัยที่เข้มงวดอีกด้วย

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อสินค้า คอมมิวนิตี้ และบริการ ง่ายๆ ในคลิกเดียว เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน My HUAWEI ใน HUAWEI AppGallery

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติมของ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) ได้ที่:

Website: http://consumer.huawei.com/th

Facebook: http://www.facebook.com/HuaweiMobileTH

LINE: HuaweiMobileThailand, IG: Huawei.TH

 

[1] จากการทดสอบจากห้องทดลองของหัวเว่ย ระยะเวลาการใช้งานจริงอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสินค้า พฤติกรรมการใช้งานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ

[2] ข้อมูลการตรวจวัดไม่ได้มีเป้าหมายที่จะนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยรักษาหรือป้องกันโรคหรือภาวะใดๆ แต่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการออกกำลังกายโดยทั่วไปเท่านั้น

[3] ข้อมูลการตรวจวัดไม่ได้มีเป้าหมายที่จะนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยรักษาหรือป้องกันโรคหรือภาวะใดๆ แต่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการออกกำลังกายโดยทั่วไปเท่านั้น