1 ธ.ค. 2564 1,006 2

AIS ขยายผลความสำเร็จ SDG Lab สานต่อความร่วมมือ ม.ธรรมศาสตร์ สร้างความยั่งยืน ดึงศักยภาพ AIS 5G พร้อมให้บริการ “รถ EV ไร้คนขับอัจฉริยะ” ด้วย Smart City ด้วยพลังงานสะอาด

AIS ขยายผลความสำเร็จ SDG Lab สานต่อความร่วมมือ ม.ธรรมศาสตร์ สร้างความยั่งยืน ดึงศักยภาพ AIS 5G พร้อมให้บริการ “รถ EV ไร้คนขับอัจฉริยะ” ด้วย Smart City ด้วยพลังงานสะอาด


หลังจากที่ AIS และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการความยั่งยืนแห่งแรกในเอเชีย “SDG Lab by Thammasat & AIS” ไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G มาพัฒนาเพื่อสร้างรากฐานด้านความยั่งยืน ในการยกระดับคุณภาพชีวิตจนสามารถขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นสังคมเมืองแบบ Smart City ในที่สุด โดยหนึ่งในความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ผ่านระบบการขนส่งต้นแบบอัจฉริยะด้วย รถไฟฟ้าไร้คนขับ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ในการขับเคลื่อนบนโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G พร้อมให้บริการทดลองรับ-ส่ง ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้นักศึกษา-บุคลากร สัมผัสประสบการณ์โลกอนาคตได้ก่อนใคร


วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS อธิบายว่า “สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืน SDG Lab by Thammasat & AIS นับเป็นเครื่องยืนยันว่าเรามุ่งมั่นเดินตามภารกิจในการส่งมอบบริการดิจิทัลเพื่อยกระดับวิถีชีวิตของผู้คน ด้วยการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลง และทำให้บริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้ชีวิตยังคงสามารถเติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน”




โดยที่ผ่านมาทีมวิศวกรได้ทำงานเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในด้านต่างๆ ของ SDG Labอย่างต่อเนื่อง อาทิ ระบบฟาร์มอัจฉริยะ Smart Farm ใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่การพัฒนาระบบการขนส่ง และระบบการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5ให้สอดรับกับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ทำให้วันนี้เราประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5มาพัฒนาการระบบขนส่งโดยสารสาธารณะด้วยรถไฟฟ้าไร้คนขับ หรือ Autonomous EV Car ที่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ปลอดภัยกับผู้โดยสารและผู้คนบนท้องถนนสูงสุดตามมาตรฐานสากล บนเครือข่าย AIS 5G ที่มีความเร็ว แรงและความหน่วงที่ต่ำ ทำให้การขับเคลื่อนของตัวรถมีความเสถียรรองรับการขนส่งภายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ระบบขนส่งสาธารณะแบบไร้คนขับ Autonomous EV Car เป็นการนำรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ขนาด ที่นั่ง มาติดตั้งอุปกรณ์ Sensors and Computing Hardware ทำให้ตัวรถสามารถใช้ Software ควบคุมการขับเคลื่อนได้อย่างอัตโนมัติ ได้ถึง 2 รูปแบบคือ



·      Auto-Pilot mode ขับเคลื่อนตามเส้นทางที่กำหนดแบบอัตโนมัติ ผ่านเครือข่าย AIS 5G  ที่จะมีการจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารตามจุดต่างๆ ที่มีการทดลองและกำหนดไว้ แล้ว โดยระบบการทำงานของเซนเซอร์จะเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในระยะการเดินรถรอบทิศทาง

·      Virtual Control mode ขับเคลื่อนผ่านการควบคุมระยะไกล ซึ่งจะสามารถบังคับรถโดยสารไฟฟ้าบนเครื่อง ซิมูเลเตอร์ (Simulator) ที่สตรีมจากกล้อง 360 องศา ผ่านเครือข่าย AIS 5G โดยระบบ Driver Assistance Systems จะช่วยตรวจสอบความปลอดภัยในการเดินรถอย่างสมบูรณ์แบบ


รศ.ดร.พิษณุ ตู้จินดา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต ด้านคุณภาพชีวิต  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า “ด้วยเป้าหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ทำงานร่วมภาคเอกชนที่หลากหลายในการพัฒนาสู่การเป็น Smart University มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชนและความยั่งยืน สำหรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าไร้คนขับในครั้งนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายโดยเฉพาะการสร้างระบบขนส่งภายในมาหาวิทยาลัย อำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและบุคลากร ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้เป้าหมายของมหาวิทยาลัยในการสร้างเมืองอัจฉริยะเกิดได้ในไม่ช้าอย่างแน่นอน”



ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า “ระยะเวลาเกือบ ปีที่เราทำงานร่วมกับAIS เดินหน้าภารกิจของ SDG Lab by Thammasat & AIS  ในการสร้างพื้นที่นวัตกรรมเพื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ทั้งด้านการใช้ชีวิต ด้านสังคม หรือแม้แต่ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จนเกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในวันนี้อย่างระบบการขนส่งต้นแบบอัจฉริยะ รถไฟฟ้าไร้คนขับที่ทำงานบนเครือข่าย 5G โดยใช้นวัตกรรมจากพลังงานไฟฟ้า ที่จะมาวิ่งรับ-ส่ง เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยได้โดยสารทดลองใช้สัมผัสประสบการณ์ของเทคโนโลยีไปพร้อมกัน”






วสิษฐ์ กล่าวในช่วงท้ายว่า “ด้วยศักยภาพของ 5G สามารถเชื่อมต่อและสร้างประโยชน์ให้กับคนไทยได้อีกหลายมิติ โดยรถ EV ไร้คนขับที่ทดลองใช้งานจริงในระบบขนส่งสาธารณะภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในกำหนดเทรนด์โลกอนาคตในการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องยนตร์ขับเคลื่อนการบริหารจัดการเมือง หรือ พื้นที่ต่างๆ ในประเทศให้เดินหน้าสู่การเป็น Smart City สมบูรณ์แบบได้ใน