7 ธ.ค. 2564 1,288 10

ค่ายมือถือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พาเหรดจับมือร่วมกิจการเพื่อลงทุน 5G แต่ก็ถูกจับตาเรื่องการเสียเปรียบทางการแข่งขัน

ค่ายมือถือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พาเหรดจับมือร่วมกิจการเพื่อลงทุน 5G แต่ก็ถูกจับตาเรื่องการเสียเปรียบทางการแข่งขัน

ข่าวการจับมือร่วมกันลงทุน 5G ของโอเปอเรเตอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ได้เป็นข่าวดังแค่เฉพาะผู้ให้บริการในไทยเท่านั้น แต่ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีการจับมือร่วมกัน โดยปีนี้เรียกว่าคึกคักมากๆ สำหรับโอเปอเรเตอร์ใน South-east Asia ที่ประกาศร่วมกิจการ หรือควบรวม แล้วแต่ดีลแต่ละประเทศ ซึ่งก็มีหลากหลายมุมมอง ในมุมของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเพิ่มผลตอบแทน กำไร ให้มากขึ้่น และสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ในประเทศไทย True ผู้ให้บริการหมายเลข 2 จาก เครือ CP ได้ประกาศจับมือร่วมธุรกิจ โดยอยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้กับ Dtac จาก Telenor ของนอร์เวย์ โดยหากมีการจับมือกันสำเร็จจะมีการเติบโตและมีลูกค้าในมือ 51 ล้านราย จะกลายเป็นยักษ์ใหญ่แทน AIS ที่มีผู้ใช้ 43 ล้านราย

ในอินโดนีเซีย ผู้ให้บริการ Ooredoo จาก Qatar และ CK Hutchison จากฮ่องกง ร่วมกิจการกัน โดยดีลน่าจะสำเร็จในช่วงปลายปีนี้

ในมาเลยเซีย มีการร่วมกิจการระหว่าง Axiata กับ Telenor ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบทางการตลาดได้มากถึง 46 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

จะเห็นได้ว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ จับมือกันลงทุน 5G และไฟเบอร์บรอดแบนด์ แต่หน่วยงานผู้ที่กำกับดูแลก็ยังกังวลเรื่องการผูกขาดทางการแข่งขัน ความได้เปรียบ - เสียเปรียบในการแข่งขัน และผลประโยชน์ต่อผู้บริโภค

ปีที่ผ่านมา หน่วยงานของไทยก็จับตาเรื่อง CP ซื้อ Tesco กับการผูกขาดทางการแข่งขันทางการค้า

ฝั่ง กสทช. ของไทยเองก็จับตาเรื่องนี้อยู่เช่นกัน เนื่องจากไม่มั่นใจเรื่องการผูกขาด ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเมื่อมีการรวม True-Dtac แต่ก็มองว่า ไปขวางอะไรไม่ได้

พิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า ในประเทศแถบยุโรป การควบรวมกิจการเป็นเรื่องยาก เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลค่อนข้างเข้มงวด แต่ของโซนนี้เราไม่เข้มแข็ง

ก่อนหน้านี้ มาเลยเซีย มีความพยายามในการรวมกิจการ ในปี 2019 Telenor ต้องพยายามต่อสู้กับการขัดขวางจากรัฐบาล ในการรวมธุรกิจกับ Axiata

จะว่าไปก็มีความเคลื่อนไหวจากเทเลนอร์ นอร์เวย์ ในมาเลเซีย และมีการย้ายออกจากพม่าจากเหตุรัฐประหาร

มีมุมมองนึงที่น่าสนใจมองว่า เทเลนอร์กำลังมองหาพันธมิตรในการควบรวมกิจการเพื่อช่วยทนต่อแรงกดดันทางการเมืองและผู้ถือหุ้น ดังนั้นจึงเกิดจากรวมกิจการกันทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรื่องเดียวที่กังวลคือการแข่งขันหลังรวมกันแล้วเหลือผู้แข่งขันหลักเพียง 2 ราย คือ AIS และ True + dtac และการผูกขาดก็ยังเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงและแสดงความห่วงใยอยู่

ft ภาพปกจาก livik.net