10 ธ.ค. 2564 1,235 35

FAA ขอให้โอเปอเรเตอร์ชะลอการให้บริการ 5G บนคลื่น C-Band แต่กลับกระทบ AT&T และ Verizon ในสหรัฐ

FAA ขอให้โอเปอเรเตอร์ชะลอการให้บริการ 5G บนคลื่น C-Band แต่กลับกระทบ AT&T และ Verizon ในสหรัฐ

หลังจากที่ adslthailand ได้เคยนำเสนอข่าว คลื่น 5G บน C-Band ของ 2 ผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่ในอเมริกา ถูกสั่งชะลอเนื่องจากข้อกังวลเรื่องคลื่นสัญญาณรบกวนการบิน อ่านข่าว

AT&T และ Verizon มีข้อตกลงร่วมกันในเดือนพฤศจิกายนว่าจะชะลอการให้บริการ 5G บนคลื่น C-Band (ความถี่ 3.7 ถึง 4.2 GHz) ไปเดือนมกราคม 2022 ตามคำแนะนำของหน่วยงาน Federal Aviation Authority (FAA) ที่เตือนเรื่องคลื่นความถี่กลาง มีการรบกวนการบินของเครื่องบินพาณิชย์

ผู้ให้บริการ ได้ทำการลดความแรงของกำลังส่งสัญญาณบนความถี่ C-Band เป็นเวลา 6 เดือน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณสนามบิน เพื่อให้เวลากับทาง FAA ในการยืนยันว่าคลื่น 5G ไม่ส่งผลกระทบต่อการบินอย่างแน่นอน

AT&T และ Verizon ต่างลงทุนประมูลกับคลื่น 5G บนความถี่ C-Band ไปกว่า 80.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยทาง AT&T พัฒนาช่วงคลื่นแรกบน 40 MHz ของ 80-MHz บนความถี่ C-band ในสิ้นปีนี้ ส่วน Verizon มีแผนที่จะให้บริการครอบคลุมผู้ใช้ 100 ล้านรายในเดือนมีนาคม 2022

แผนที่วางไว้ถูกชะลอหรือ hold ไว้ก่อน เนื่องจากการลดความเข้มของกำลังส่งสัญญาณ C-Band ลง ในขณะที่ AT&T และ Verizon อาจจะสามารถเพิ่มความเข้มของสัญญาณบน C-band ในกลางปีนี้ แต่ฝั่ง T-Mobile เป็นผู้นำ 5G ทั้งนี้เนื่องจากการชะลอ ก็เลยทำให้ Verizon ได้ใช้อุปกรณ์บนคลื่น C-Band

AT&T และ Verizon มีแผนที่จะเปิดตัวบริการบนคลื่น 3.5-GHz โดยมีการใช้งานบนคลื่น Citizens Broadband Radio Service (CBRS, 3,550-3,700 MHz) กับอุปกรณ์ C-Band โดยมองว่าคลื่น C-Band และ CBRS จะใช้เสาร่วมกัน โดยกำหนดค่าเสา 32 หรือ 64 multiple-input, multiple-output

หลักๆ ในสหรัฐจะใช้คลื่น n77 บน C-Band บนความถี่ 3.3 ถึง 4.2 GHz ซึ่งเอาจริงๆ ตัวเทคโนโลยีได้รับการทดสอบและพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ส่วนญี่ปุ่นนั้นจะใช้คลื่น n77 สำหรับบริการ 5G ตั้งแต่ปี 2019 โดยไม่ได้มีผลกระทบใดๆ กับการบินเลย

เป้าหมายของผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย จะใช้คลื่น 5G ความถี่กลาง เพื่อให้บริการ throughput 350 Mbps โดยเฉพาะการใช้งานบนความถี่ 100 MHz สำหรับคลื่น upper mid-band

ส่วน Verizon นั้นมีการใช้คลื่น CBRS โดยมีการเพิ่มอุปกรณ์สำหรับ 3.5-GHz  แต่สังเกตได้ว่า การวางเสานั้นมีการเว้นระยะห่าง มีรัศมีการวางเสา ที่ต่อเนื่องกัน บนคลื่น 3.5-GHz กับ C-band การให้บริการบน C-band จะใช้พลังงานต่ำกว่า หรือนำคลื่น CBRS มาใช้ ทำให้มือถือ 5G เชื่อมต่อกับคลื่น 5G แบบ low-band หรือบนเครือข่าย LTE

ดังนั้น การชะลอการให้บริการที่ทาง FAA แนะนำ กลับกลายเป็นสร้างความลำบากใจให้กับ AT&T

สาเหตุที่ปัญหาของ AT&T นั้นแย่กว่า เพราะการเข้าสู่โลกของคลื่น 3.5-GHz ไม่ได้ซื้อใบอนุญาต CBRS [priority access] ไว้ กลับกลายเป็นว่า AT&T เสียเปรียบทางการแข่งขัน เพราะว่าต้องใช้เวลาตามหลังอย่างน้อย 1 ปี เพื่อเพิ่มคลื่นกลางกับอุปกรณ์ RAN เพื่อใช้งานกับเครือข่าย metro-wide 5G ซึ่งมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นคลื่นต่ำ ต้องใช้ระยะเวลาที่นานขึ้น

การชะลอในครั้งนี้ ส่งผลทำให้ T-Mobile ได้เปรียบกว่าผู้แข่งขันรายอื่น โดยเฉพาะ T-Mobile ก้าวสู่ผู้นำ 5G ที่ครอบคลุมกว่า

ทางฝั่ง FAA มองในมุมของผลกระทบที่ไม่กระทบกับ Dish คิดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ก่อนที่จะเจอปัญหาคลื่น upper mid-band บน CBRS และ C-band

สรุปคือ การชะลอการให้บริการ 5G เนื่องจากกังวลการรบกวนคลื่นกับการบิน ทำให้มีผู้ให้บริการที่เสียผลประโยชน์ และได้ประโยชน์ ซึ่งแต่ละรายมีคลื่นไม่เท่ากัน ทรัพยากรต่างกัน ดังนั้น การออกคำสั่งหรือขอความร่วมมือของ FAA ในการลดความเข้มของสัญญาณ บนคลื่น C-Band เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการบิน อาจจะต้องมองเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการด้วย ในขณะที่เรดาร์ตรวจสภาพอากาศนั้นไม่พบปัญหากับการบินแต่อย่างใด ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับกำลังส่งของสัญญาณด้วย ในขณะที่ KCCI-TV ในเมือง Des Moines ใช้กำลังส่ง 270,000 watts ส่วน Federal Communications Commission ทดสอบบริการ 5G บนคลื่น C-Band ในสหรัฐ ใช้พลังงานน้อยกว่า ในช่วง 1 watt ถึง 68,400 watts ในการสื่อสารผ่านมือถือ

eetimes