12 ธ.ค. 2564 1,977 152

mu space สัญชาติไทย จัดงานใหญ่ Tech day event 2021..พร้อมผลิตดาวเทียม มากกว่า 200 ดวงต่อปี เชื่อมต่อเน็ตขั้นต่ำ 5 Gbps ทดแทนสายเคเบิลใต้น้ำ ราคาขายดวงละ 134 ล้านบาท

mu space สัญชาติไทย จัดงานใหญ่ Tech day event 2021..พร้อมผลิตดาวเทียม มากกว่า 200 ดวงต่อปี เชื่อมต่อเน็ตขั้นต่ำ 5 Gbps ทดแทนสายเคเบิลใต้น้ำ ราคาขายดวงละ 134 ล้านบาท
mu space ผู้ผลิตดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จัดงานใหญ่ส่งท้ายปี Tech day event 2021 ตั้งเป้าการผลิตดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศมากกว่า 200 ดวงต่อปี รับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้มากกว่า 5 Gbps วิเคราะห์ข้อมูลได้มากกว่า 1,000 GB ต่อวัน ทดแทนการใช้สายเคเบิลใต้น้ำในการรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโลก นอกจากนี้เตรียมแผนการผลิตอุปกรณ์แบตเตอรี่อัจฉริยะเพื่อใช้งานในอวกาศในภาคพื้นโลก


ซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 ทาง mu space corp จัดงาน Tech Day ส่งท้ายปี 2021 เป็นครั้งแรก พาสื่อและพาร์ทเนอร์ เยี่ยมชมโรงงานผลิตแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ บริษัท มิว สเปซ นำทัพโดย เจมส์ วรายุทธ อยู่บำรุง ผู้ก่อตั้งบริษัท และทีมวิศวกร  ซึ่งในขณะนี้ทาง mu space ได้ดำเนินการผลิตดาวเทียมทั้งโรงงาน 1 และ โรงงานที่ 2 พร้อมตั้งเป้าเดินหน้าโรงงานที่ 3 ภายในปี 2565 ซึ่งความคืบหน้าดังกล่าว แล้วเสร็จมากกว่า 50% เพื่อเป็นที่ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยโรงงานแบ่งเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. SATELLITE SHOP ในขณะนี้ทาง mu space สามารถผลิตดาวเทียมส่งขึ้นไปสู่อวกาศได้จำนวน 10 ดวงต่อ 1 ปี หากโครงการโรงงานที่ 2 และ 3 สำเร็จก็จะสามารถผลิตดาวเทียมได้มากกว่าเดิม
2. MACHINE SHOP ผลิตอุปกรณ์ด้วยตนเอง ลดความล่าช้าและสามารถใช้ชิ้นส่วนที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
3. ROBOTICS WORKSHOP สามารถนำอุปกรณ์ที่ผลิตและนำเข้ามาประกอบให้อยู่ในที่เดียวกันหรือในบอร์ดเดียวกัน ผ่านผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้เรามีการเก็บข้อมูล Data ต่างๆ อีกด้วย
4. CHEMICAL LAB ส่วนนี้คือการใช้สารเคมีที่เราผลิตเอง เพื่อประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้กันทั้งดาวเทียมหรือตัวเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ส่งผลทำให้ดาวเทียมสามารถขึ้นไปสู่อวกาศได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
5. BATTERY SHOP การพัฒนาระบบแบตเตอรี่ใหม่ทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ฉลาดในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าของแต่ละอุปกรณ์

“สาเหตุที่เราจะต้องทำเองทั้งหมดเนื่องจากที่ผ่านมา เราซื้อดาวเทียมจากยุโรปและอเมริกาเป็นหลัก ซึ่งทางเราต้องการให้ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นผู้ส่งออกดาวเทียมแทน ซึ่งข้อได้เปรียบในการพัฒนาดาวเทียมคือระบบพลังงานและระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เราสามารถที่จะนำจุดที่คิดว่ามันไม่เหมาะสมมาปรับปรุงพัฒนาได้ ซึ่งทำให้ขีดความสามารถของดาวเทียมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใช้วัตถุดิบที่มีความเหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น” เจมส์ กล่าว

ปัจจุบัน mu space ได้ผลิตดาวเทียม BLOCK (MU B200) มีน้ำหนักของดาวเทียม มีความหนักถึง 200 กิโลกรัมใช้พลังงานสูงสุด 1200 W สามารถอยู่ในชั้นบรรยากาศ Orbit ความสูงถึง 500 กิโลเมตรจากพื้นดิน สามารถทำการติดต่อสื่อสาร โดยใช้คลื่น V-Band ด้วยความเร็วสูงถึง 5 Gbps อายุการใช้งาน 5 ปี สัดส่วนส่วนใหญ่ของดาวเทียมอยู่ที่ อยู่ที่แบตเตอรี่ถึง 60%

นอกจากนี้ mu space สามารถผลิตดาวเทียมที่มีน้ำหนักเบา ทั้งตัวดาวเทียมและอุปกรณ์ชิ้นส่วนของดาวเทียมส่งผลทำให้สามารถใช้งานพลังงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ตัวดาวเทียมยังมีความสามารถควบคุมความสูงและป้องกันไม่ให้ดาวเทียมของเราไปชนกับดาวเทียมดวงอื่น สามารถขับเคลื่อนดาวเทียมขึ้นและลง เปลี่ยนระดับความสูงได้ด้วยตนเอง

ครั้งนี้ทาง mu space สาธิตการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีขนาดใหญ่สามารถที่จะพิมพ์วัตถุโลหะเพื่อขึ้นรูปวัสดุออกสู่อวกาศเป็นรูปทรงตามความต้องการของลูกค้าได้ทันที โดยในตัวดาวเทียมไม่ไปรบกวนกับอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่เพราะใช้ย่าน ย่าน KU-Band อยู่ที่ 10,000 MHz และ V-Band อยู่ที่ 20,000 MHz ปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณได้อย่างชัดเจน

สำหรับรายละเอียดแบตเตอรี่ ดังต่อไปนี้
1. SOLID-STATE BATTERY
2. CHIP-SCALE ATOMIC CLOCK
3. THUSTER TANK
4. LASER COMMUNICTION


โดย CHIP-SCALE ATOMIC CLOCK ถือเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ ที่สามารถจะนำร่องระยะเวลาของอวกาศกับพื้นโลกได้ตรงกัน กับการเชื่อมต่อระบบ GPS รุ่นใหม่ LASER COMMUNICTION เป็นเทคโนโลยีที่คล้ายกับ Starlink ในการส่งสัญญาณความถี่ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างระบบดาวเทียม ใช้คลื่นความถี่ของเลเซอร์เป็นหลัก ทำให้เชื่อมต่อการสื่อสารภาคพื้นดินและดาวเทียม ตัวดาวเทียมจะต้องยิงระยะไกลถึง 1,000 กิโลเมตร ดังนั้น หากตัวดาวเทียมไม่สามารถยิงไปสู่เป้าหมายได้ก็จะทำให้ ความเร็วในการเชื่อมต่อ ลดน้อยลง LARGE BAY TELESCOPE AND ANTENNA สามารถที่จะปรับเปลี่ยนความถี่ ในการสื่อสารระหว่างภาคพื้นดินและระหว่างดาวเทียมได้ทันที TELESCOPE มุ่งเน้นทางเรื่องของการถ่ายภาพ ในมิติต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบออกซิเจน บนภาคพื้นดินหรือการเปลี่ยนแปลงทางอากาศที่เกิดขึ้นได้รอบๆ

สำหรับระบบ POWER SYSTEM ขอบทาง mu space สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณได้ถึง 25% แนะนำอุปกรณ์มาใช้งานใหม่ได้ถึง 3.3 เท่า นอกจากนี้สามารถเพิ่มพลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ได้สูงถึง 2.75 เท่าอีกด้วย

ความฉลาดของแบตเตอรี่ดังกล่าวสามารถที่จะทราบได้ว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นส่วนนั้นใช้พลังงานเท่าใด ตัวแบตเตอรี่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ชิ้นส่วนนั้นเป็นการเฉพาะ ทำให้ตัวดาวเทียมสามารถจัดการบริหารได้อย่างประหยัดพลังงานมากที่สุด

ADVANCED MANUFACTURING PRODUCTION เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นธุรกิจที่พิมพ์ภาพ 3 มิติ โดยเป็นการพิมพ์ในรูปแบบของวัสดุโลหะ ซึ่งทำให้เราสามารถที่จะขึ้นรูปโลหะได้อย่างทันทีผ่านอุปกรณ์ AI ประหยัดต้นทุนในการผลิตถึง 70% ลดของเสียจากการขึ้นแบบได้สูงถึง 80% และมีความรวดเร็วในการผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นงานต่างๆ เพื่อประกอบในตัวดาวเทียมได้สูงถึง 5 เท่า

ในส่วนของเจ้าหน้าที่ AI ยังทำการเก็บข้อมูลในปัจจุบัน ที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 1,000 GB / day โดยที่ใช้ตัว Software คือ A100 ทำให้สามารถคำนวณ ได้ถึง 5,000 TFlOPS

เป้าหมายของ mu space ในขั้นถัดไป จากปัจจุบันที่สามารถผลิตดาวเทียมได้เพียง 10 ดวงต่อ 1 ปี เมื่อมีโรงงานทั้ง 3 ครบแล้ว สามารถผลิตได้สูงถึง 100 ดวงต่อ 1 ปี ความตั้งใจ คือ จะผลิตดาวเทียมให้มากกว่าเดิมถึง 200 ดวงต่อ 1 ปี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนจากการใช้ระบบเคเบิลใต้น้ำมาเป็นการสื่อสารผ่านอวกาศรับส่งสัญญาณ ผ่านแผนงานดังต่อไปนี้
Block 1 กลางปี 2022 เน้นการทดสอบ SINGLE SYSTEM MODEL TEST
Block 2 สิ้นปี 2022 เน้นการทดสอบ CONSTELLATION SYSTEM MODEL TEST
Block 3 2023-2024 เน้นการทดสอบ MEO-TO-GEO-TEST
Block 4 2025-2026เน้นการทดสอบ LUNAR TEST พร้อมทดสอบการรับส่งสัญญาณที่ระหว่างดวงจันทร์

อย่างไรก็ตาม ดาวเทียมของ mu Space ก็มีราคาขายอยู่ที่ 4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ พร้อมส่งขึ้นสู่อวกาศภายในระยะเวลา 12 เดือน