15 ธ.ค. 2564 725 0

ดีลอยท์เผยรายงาน “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ดีลอยท์เผยรายงาน “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี” ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

  • การค้าดิจิทัลในภูมิภาคนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรม cross-border e-commerceที่คึกคัก ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างรวดเร็ว การพัฒนาต่อยอดด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งภายใต้ข้อตกลง RCEP
  • ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ตลาดที่กำลังพัฒนา” ในด้านของการพัฒนา Cross-border E-commerce และ Digitalization เช่นเดียวกับ มาเลเซีย อินโดนิเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
  • การชำระเงินและการขาย เป็นสองฟังก์ชั่นทางการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุด


ดีลอยท์ (Deloitte) เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับ “การค้าดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี (Technology-empowered Digital Trade in Asia Pacific) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ล่าสุดด้านการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ทุกสิ่งกำลังพัฒนาไปสู่คดิจิทัล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนาคตที่ยั่งยืน โดยธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยมีบทบาทสำคัญอย่างมาก


รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นขององค์กรธุรกิจที่มีส่วนร่วมในระบบการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ โดยคาดการณ์ว่าการค้าดิจิทัลในภูมิภาคนี้จะเติบโตรวดเร็วขึ้น เนื่องจากกิจกรรม cross-border e-commerce ที่คึกคัก ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลไลฟ์สไตล์อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และความร่วมมือระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งคาดว่าภูมิภาคนี้จะเข้าสู่ยุคทองของการค้าดิจิทัลในอีกสามปีข้างหน้า
 
เทยเลอร์ แลม รองประธานและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี มีเดียและเทเลคอมมูนิเคชั่น ดีลอยท์ ประเทศจีน กล่าวว่า “ช่วงการแพร่ระบาด การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและความร่วมมือระหว่างภูมิภาคได้พัฒนาไปสู่การค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนำเสนอโอกาสการพัฒนาของแบรนด์ใหม่ ๆ และ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี RCEP นั้นจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภูมิภาค และอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการค้าดิจิทัลต่าง ๆ”
 
แกรี่ วู หัวหน้าทีมฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของตลาดทั่วโลกดีลอยท์ กล่าวว่า “เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาช่วยผู้ค้าทั่วโลกให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศ โดยปราศจากมาตรการกีดกันทางการค้าใด ๆ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องจะช่วยแก้ปัญหาที่เป็นข้อจำกัดทางการค้าระหว่างประเทศหลัก ๆ สองประการ ได้แก่ ลอจิสติกส์ และ การชำระเงิน ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ เทคโนโลยีบล็อกเชนก็มีส่วนช่วยสร้างพื้นที่ใหม่ ๆ ในการค้าดิจิทัล”
 
ข้อมูลเชิงลึกในระดับภูมิภาค
การค้าโลกเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ

  • ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการค้าก็ขยายตัวเป็นวงกว้างและเจาะลึกมากขึ้น  กล่าวได้ว่าการค้าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของระบบอัจฉริยะ และดาต้าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก
  • โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบ 5G จะช่วยสร้างแพลตฟอร์มการกระจายข้อมูลและสถาปัตยกรรมเครือข่ายใหม่ๆ และรองรับ Internet of Everything (IoE)  ขณะเดียวกัน การเก็บรวบรวมบิ๊กดาต้าจำนวนมหาศาล ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาด 
  • ในภาพรวม การค้าโลกในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจาก “ระบบดิจิทัลไปสู่ “ระบบอัจฉริยะ” โดย “การค้าดิจิทัล” เป็นรูปแบบการพัฒนาล่าสุด
 
พัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิก
  • เศรษฐกิจระดับภูมิภาคส่วนใหญ่ถูกประเมินเพื่อการพัฒนาการและการเติบโตของการค้าดิจิทัล โดยอ้างอิงดัชนีชี้วัดสองอย่างคือ อี-คอมเมิร์ซระหว่างประเทศ (60%) และการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (40%) และผลลัพธ์ที่ได้มีดังนี้:
  • ตลาดที่พัฒนาแล้วจีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น 
  • ตลาดกำลังพัฒนาไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ 
  • ตลาดที่อยู่ในขั้นเริ่มต้นเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และบรูไน
  • ในประเทศไทย อัตราการขยายตัวของตลาด cross-border e-commerce ถือว่าค่อนข้างสูง และมีโครงสร้างทางด้านดิจิทัลที่แข็งแรง แต่การพัฒนายังอยู่ในระดับที่จำกัด


 
การเติบโตขององค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก (Micro-Multinational Enterprise - mMNE) เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการค้าดิจิทัลในเอเชีย-แปซิฟิ

  • ธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรายย่อยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อเป็นองค์กรธุรกิจข้ามชาติขนาดเล็ก หรือmMNE เพราะเข้าร่วมใน cross-border e-commerce ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก
  • ธุรกิจรายย่อยเหล่านี้นำเสนอ “ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น” หลากหลายประเภท ควบคู่กับการปรับรูปแบบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั่วโลก โดยธุรกิจในกลุ่มนี้ครองสัดส่วนกว่า 85% ของกิจกรรม cross-border e-commerce ในเอเชีย-แปซิฟิก
  • คุณลักษณะที่สำคัญของ mMNE:
  • ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างคล่องแคล่ว
  • มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปแล้วมีพนักงานไม่ถึง 100 คน
  • มีการดำเนินงานครอบคลุมทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้วมีร้านสาขาในต่างประเทศ 3.56 แห่ง
 
การชำระเงิน และการขาย” เป็นสองฟังก์ชั่นทางการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงสุด
  • ระบบชำระเงินดิจิทัลมีอัตราการใช้งานอยู่ที่ 55% ส่วนระบบการขายแบบดิจิทัลมีอัตราการใช้งาน 53% 
  • ตลาดที่พัฒนาแล้วมีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า ทั้งในส่วนของการชำระเงิน การขาย และลอจิสติกส์
  • ในตลาดกำลังพัฒนา การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในด้านการผลิตและการค้าอยู่ในระดับที่สูง


 
แฟรงกี้ ฟาน ผู้บริหาร WorldFirst ประจำประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการชำระเงินระหว่างประเทศ กล่าวว่า “ธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีบทบาทอย่างมากต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค”
 
“การมีการซื้อขายออนไลน์ระหว่างประเทศและการชำระเงิน รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า เอสเอ็มอีในภูมิภาคจะได้รับความมั่นคงในการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ที่ WorldFirst เรามุ่งมั่นในการนำเสนอบริการด้านการเงินแบบครบวงจรแบบ one-stop ครอบคลุมทั้งการชำระเงิน การเก็บเงิน และการแลกเปลี่ยนเงินให้แก่บริษัทต่าง ๆ ไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่” แฟรงกี้ กล่าว


เกี่ยวกับดีลอยท์ (Deloitte)
ดีลอยท์ (Deloitte) คือ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด (Deloitte Touche Tohmatsu Limited - “DTTL”) รวมถึงเครือข่ายบริษัทในเครือทั่วโลก และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง (รวมเรียกว่า องค์กรดีลอยท์”) DTTL (หรือ “Deloitte Global”) และบริษัทในเครือและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดถือเป็นนิติบุคคลอิสระที่แยกออกจากกันในทางกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถผูกพันหรือสร้างพันธะกรณีต่อกันในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลที่สาม  DTTL และบริษัทในเครือและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ละแห่งของ DTTL รับผิดชอบต่อกิจกรรมของตนเอง และไม่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า  กรุณาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.deloitte.com/about
 
ดีลอยท์เป็นผู้นำระดับโลกด้านบริการสอบบัญชีและการรับรอง บริการที่ปรึกษา การให้คำแนะนำทางการเงิน การให้คำแนะนำเรื่องความเสี่ยง ภาษี และบริการที่เกี่ยวข้อง  เครือข่ายระดับโลกของเราประกอบด้วยบริษัทในเครือและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องในกว่า 150 ประเทศ (รวมเรียกว่า องค์กรดีลอยท์”) ให้บริการแก่บริษัทชั้นนำโดยสี่ในห้าแห่งที่ติดอันดับ Fortune Global 500®  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของบุคลากรราว 330,000 คนของดีลอยท์ ได้ที่เว็บไซต์ www.deloitte.com
 
บริษัท ดีลอยท์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด (Deloitte Asia Pacific Limited) เป็นบริษัทจำกัดภายใต้การค้ำประกันและเป็นบริษัทในเครือของDTTL  ทั้งนี้ สมาชิกของดีลอยท์ เอเชีย แปซิฟิก และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ละแห่งถือเป็นนิติบุคคลอิสระที่แยกออกจากกัน ให้บริการจากกว่า 100 เมืองใหญ่ทั่วภูมิภาค รวมถึงโอ๊คแลนด์ กรุงเทพฯ ปักกิ่ง ฮานอย ฮ่องกง จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา เมลเบิร์น โอซากา โซล เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ ซิดนีย์ ไทเป และโตเกียว
 
แบรนด์ดีลอยท์เข้าสู่ตลาดของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยเปิดสำนักงานในเซี่ยงไฮ้  ปัจจุบัน ดีลอยท์ ไชน่า (Deloitte China) ให้บริการสอบบัญชีและการรับรองอย่างครบวงจร รวมถึงบริการที่ปรึกษา การให้คำแนะนำทางการเงิน การให้คำแนะนำเรื่องความเสี่ยง และบริการภาษีแก่ลูกค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติและองค์กรที่กำลังเติบโตในจีน  นอกจากนี้ ดีลอยท์ ไชน่า ยังสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานทางบัญชีของจีน รวมไปถึงระบบภาษี และความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ  ดีลอยท์ ไชน่า เป็นองค์กรบริการด้านวิชาชีพที่ถือครองโดยหุ้นส่วนในจีน  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการของดีลอยท์ซึ่งส่งผลกระทบที่สำคัญในจีนและติดต่อแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของบริษัทได้ที่ www2.deloitte.com/cn/en/social-media
 
เอกสารนี้ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และด้วยการเผยแพร่เอกสารนี้ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด (“DTTL”) รวมถึงเครือข่ายบริษัทในเครือทั่วโลก และนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง (รวมเรียกว่า องค์กรดีลอยท์”) ไม่ได้ให้คำแนะนำหรือบริการด้านวิชาชีพแต่อย่างใด ก่อนที่จะตัดสินใจหรือดำเนินการใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเงินหรือธุรกิจของคุณ คุณควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษามืออาชีพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
 
ไม่มีการรับรอง การรับประกัน หรือการดำเนินการใดๆ (โดยชัดแจ้งหรือโดยนัย) เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลในเอกสารนี้ และ DTTL บริษัทในเครือ นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง พนักงาน หรือตัวแทน จะไม่รับผิดหรือรับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลใดๆ ที่พึ่งพาเอกสารนี้  DTTL และบริษัทในเครือแต่ละแห่ง รวมถึงนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นนิติบุคคลอิสระที่แยกออกจากกันตามกฎหมาย
 
© 2021. หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ดีลอยท์ ไชน่า