18 ธ.ค. 2564 1,734 19

ทรู 5G ร่วมกับ รพ. ศิริราช ร่วมพัฒนาต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G “Siriraj World Class 5G Smart Hospital”

ทรู 5G ร่วมกับ รพ. ศิริราช ร่วมพัฒนาต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G  “Siriraj World Class 5G Smart Hospital”




จากภาพ : พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวและเยี่ยมชมโครงการ ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G”พร้อม ด้วย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เศรษฐกิจ และสังคม พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, ศาสตราจารย์ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลรศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช และรศ. นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งนายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองประธานคณะกรรมการบริหาร  บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ และนายพิรุณ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หัวหน้าคณะทำงานและกรรมการยุทธศาสตร์ 5G ร่วมให้การต้อนรับ



True 5G ร่วม รพ.ศิริราช ชู 3 ไฮไลท์ทรู 5G ทั้ง 

-การใช้งานเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ด้วยแพลตฟอร์ม MEC (Multi-Access Edge Computing)”ครั้งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-การใช้งานจริงของ ยานยนต์อัจฉริยะไร้คนขับ (5G Unmanned Vehicle) “ และ
-ระบบการแพทย์ฉุกเฉินอัจฉริยะ (
5G Smart Ambulance)
 
กลุ่มทรูร่วมสานพลังขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์ 5G แห่งชาติ ร่วมมือกับรพ.ศิริราช นำความอัจฉริยะของเทคโนโลยีทรู 5G ที่มีจุดเด่นทั้งความเร็วในการรับส่งข้อมูล ความแม่นยำ และความหน่วงในการทำงานต่ำ (Low latency) ร่วมพัฒนาระบบการให้บริการด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล ในโครงการ ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G”  ซึ่งสำนักงาน กสทช. มอบหมายให้โรงพยาบาลศิริราชเป็นผู้ดำเนินโครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) และเป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี5G และ Critical Technology เพื่อพัฒนาบริการสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ ขณะที่กลุ่มทรูได้รับการคัดเลือกจากโรงพยาบาลศิริราชให้เป็นผู้ที่นำ MEC (Multi- Access Edge Computing) แพลตฟอร์มที่เป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยี 5G มาร่วมพัฒนาโซลูชั่น และUse Case 5G  ให้เกิดการใช้งานได้จริงครั้งแรกในวงการสาธารณสุขไทย และเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งยังได้ใช้เครือข่ายอัจฉริยะทรู 5G ร่วมพัฒนา ยานยนต์อัจฉริยะไร้คนขับ (5G Unmanned Vehicle) “  ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยระบบ AI และทำงานเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลบน Cloud ด้วยสัญญาณทรู 5G ซึ่งเป็นต้นแบบในการบริหารการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์แบบบูรณาการ ที่มั่นใจได้เรื่องความปลอดภัยสูงสุด สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวาง และสภาพแวดล้อมได้อย่างแม่นยำ  อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ทรู5Gใน ระบบการแพทย์ฉุกเฉินอัจฉริยะ (5G Smart Ambulance)” โดยมีการติดตั้งระบบการแพทย์ทางไกล Telemedicine เชื่อมสัญญาณ5G เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในรถฉุกเฉินของ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินศิริราช (SiEMS) ใช้กล้องที่ติดตัวอยู่ส่งข้อมูลที่ชัดและแม่นยำแบบเรียลไทม์ ทำให้แพทย์เห็นผู้ป่วยเสมือนไปอยู่จุดเกิดเหตุเอง ส่งผลให้สามารถเริ่มต้นการรักษาได้ทันเวลา ซึ่งนับเป็นต้นแบบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของโรงพยาบาล อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการ ตามนโยบายของโรงพยาบาลศิริราชที่จะก้าวเป็น โรงพยาบาลอัจฉริยะ” หรือ “Smart Hospital”


สำหรับโซลูชันที่ทรู 5G ร่วมพัฒนาในโครงการ ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G” (Siriraj World Class 5G Smart Hospital) ได้แก่ 

·      ระบบ MEC (Multi-Access Edge Computing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ 5G

ทรู 5G ได้รับเลือกจาก รพ. ศิริราช ให้เป็นผู้ที่นำ MEC  มาร่วมยกระดับการพัฒนา Use Case ของรพ.ศิริราช เพื่อใช้งานจริงในวงการสาธารณสุขไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยความสำคัญของ MEC (MultiAccess Edge Computing)  ที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำโซลูชัน และ Use Case 5G ในอนาคต คือการเอา Cloud Distribute ไปเป็นEdge Cloud ย่อยๆ ที่จะอยู่ใกล้ปลายทาง หรือการวางระบบคลาวด์ MEC ให้อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุด เพื่อให้เกิดการเข้าถึงที่รวดเร็ว และมีความหน่วงในการทำงานต่ำ (Low latency) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบและข้อมูลที่เก็บอยู่ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ในโรงพยาบาลศิริราช (local environment) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีการส่งข้อมูลกลับสู่เครือข่ายเน็ตเวิร์คหลัก หรือ operator core network จึงมีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากข้อมูลจะมีการรับ-ส่งอยู่ภายในระบบของโรงพยาบาลรพ.ศิริราช เพื่อใช้งานจริงในวงการสาธารณสุขไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  
โดยความสำคัญของ MEC (MultiAccess Edge Computing)  ที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำโซลูชัน และ Use Case 5G ในอนาคต คือการเอา Cloud Distribute ไปเป็น Edge Cloud ย่อยๆ ที่จะอยู่ใกล้ปลายทาง หรือการวางระบบคลาวด์ MEC ให้อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานมากที่สุด เพื่อให้เกิดการเข้าถึงที่รวดเร็ว และมีความหน่วงในการทำงานต่ำ (Low latency) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบและข้อมูลที่เก็บอยู่ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ในโรงพยาบาลศิริราช (local environment) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องมีการส่งข้อมูลกลับสู่เครือข่ายเน็ตเวิร์คหลัก หรือ operator core network จึงมีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากข้อมูลจะมีการรับ-ส่งอยู่ภายในระบบของโรงพยาบาล โดยตอบโจทย์เรื่องการใช้งานกับ IoT และการทำ AI  รวมทั้งให้ความมั่นใจยิ่งขึ้นในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล


·      ยานยนต์อัจฉริยะไร้คนขับ (5G Unmanned Vehicle) 
จากเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยระบบ AI และทำงานจากการเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลบน Cloud ด้วยสัญญาณ 5G ทางโรงพยาบาลศิริราชได้นำมาประยุกต์ใช้ขนส่งยาและเวชภัณฑ์ตามอาคารต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลฯ เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์แบบบูรณาการ รองรับการสืบหาข้อมูลและสถานะการจัดส่ง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาการทำงาน ไร้มลพิษจากระบบพลังงานไฟฟ้า มีความปลอดภัยสูงสุดจากการทำงานร่วมกันของ Radar และ Lidar ที่สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางและสภาพแวดล้อม รวมถึงการเรียนรู้ของ AI เพื่อการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมที่พลุกพล่านไปด้วยผู้คนและยานพาหนะภายในโรงพยาบาล ภายใต้การควบคุมของ Command Center อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงยานยนต์เพื่อบังคับด้วยระบบ Manual ผ่านสัญญาณ 5G เมื่อมีเหตุจำเป็นได้อีกด้วย ระบบฐานข้อมูลบน Cloud ด้วยสัญญาณ 5G ทางโรงพยาบาลศิริราชได้นำมาประยุกต์ใช้ขนส่งยาและเวชภัณฑ์ตามอาคารต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลฯ เพื่อเป็นต้นแบบในการบริหารการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์แบบบูรณาการ รองรับการสืบหาข้อมูลและสถานะการจัดส่ง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาการทำงาน ไร้มลพิษจากระบบพลังงานไฟฟ้า มีความปลอดภัยสูงสุดจากการทำงานร่วมกันของ Radar และ Lidar ที่สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางและสภาพแวดล้อม รวมถึงการเรียนรู้ของ AI เพื่อการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมที่พลุกพล่านไปด้วยผู้คนและยานพาหนะภายในโรงพยาบาล ภายใต้การควบคุมของ Command Center อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงยานยนต์เพื่อบังคับด้วยระบบ Manual ผ่านสัญญาณ 5G เมื่อมีเหตุจำเป็นได้อีกด้วย


  

·      ระบบการแพทย์ฉุกเฉินอัจฉริยะ (5G Smart Ambulance) 

การติดตั้งระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ในรถฉุกเฉินของศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินศิริราช (SiEMS) เพื่ออำนวยความสะดวกในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ประกอบด้วย
1) Smart telemedicine with 5เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลที่มีกล้องติดตัวเจ้าหน้าที่ตั้งแต่จุดเกิดเหตุและรถพยาบาล ที่สามารถเชื่อมต่อผู้ออกเหตุ และแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาด้วยสัญญาณที่ทรงพลังของ 5G ที่ทำให้แพทย์เห็นผู้ป่วยเสมือนไปอยู่จุดเกิดเหตุเอง ส่งผลให้สามารถเริ่มต้นการรักษาได้ทันเวลา
2)
 Smart EMS information system ระบบจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สัญญาณชีพ ที่สะดวกต่อการใช้เหมาะกับงานที่เร่งรีบ และลดภาระงานด้านเอกสาร เพิ่มเวลาในการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งมีระบบนำทางไปหาผู้ป่วยโดยที่ประชาชนไม่ต้องมีแอปพลิเคชั่นใดเพิ่มเติม
3) การนำเทคโนโลยี 5G มาใช้งานสำหรับระบบดังกล่าว จะช่วยให้ SiEMS สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามพันธกิจ เพื่อให้ชุมชนและผู้ให้บริการสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉินด้วยการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลอย่างดีเยี่ยมด้วยการวิจัย การศึกษา และการบูรณาการเทคโนโลยี

 
ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ มีมติให้สำนักงาน กสทช. และโรงพยาบาลศิริราชดำเนินโครงการ ต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์” นำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ของโรงพยาบาลศิริราช และเป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G และ Critical Technology เพื่อพัฒนาบริการสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ ตั้งแต่กระบวนการพยากรณ์ความเสี่ยง การป้องกันโรคและการรักษา ทั้งการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง ไปจนถึงการบริหารจัดการทรัพยากรโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยมีระยะเวลาการดำเนินการ 3 ปี ซึ่งปีแรกมีโครงการย่อยรวมทั้งสิ้น โครงการ ได้แก่ 

1. ระบบการแพทย์ฉุกเฉินอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5และระบบปัญญาประดิษฐ์ : Smart EMS
2.ระบบห้องฉุกเฉินอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5และระบบปัญญาประดิษฐ์ : Smart Emergency 
    Room
3. ระบบการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ผ่านเครือข่าย 5G : Pathological diagnosis system 
    with 5G and artificial intelligence
4. ระบบผู้ช่วยการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพรายบุคคล สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยระบบ
    ปัญญาประดิษฐ์ ผ่านเครือข่าย 5G: 5G AI Platform for NCD
5. ระบบทำนายปริมาณการใช้และการจัดการสินค้าคงคลัง ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านเครือข่าย 5G: 
    Smart Inventory Management
6. ระบบเวชระเบียนกลางด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน : Permission based block chain for personal health 
    record
7. ระบบขนส่งกลางด้วยรถไร้คนขับ 5G: Smart Logistic with 5G Self-Driving car
8. จัดหาอุปกรณ์ติดตั้งระบบ Multi-access Edge computing (MEC) 
9. จัดหาติดตั้งระบบ Hybrid Cloud