กลุ่มบริษัทจีเอเบิล ผู้นำในการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลโซลูชันครบวงจร โชว์ศักยภาพความเป็นผู้นำด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ย้ำชัดธุรกิจไทยต้องต่อกรกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นได้ ความท้าทายของผู้ประกอบการ และภาคธุรกิจ ในการปรับตัวเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จากการคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคงในอนาคต
เผยเทรนด์ซีเคียวริตี้ที่จะเกิดขึ้นภายใน 3-4 ปีข้างหน้า ที่ทุกองค์กรต้องรู้เพื่อรับมือกับภัยใกล้ตัวที่จะเกิดขึ้น
ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า “ปัจจุบันโลกดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นโลกที่มีโอกาสเกิดขึ้นเต็มไปหมด รวมถึงผลประโยชน์และเงินก็มากตามไปด้วยเช่นกัน จึงไม่แปลกที่การโจรกรรมในโลกดิจิทัลจะเพิ่มมากขึ้น และยิ่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ยิ่งผลักดันให้ทุกคนต้องเข้าไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลเร็วขึ้น โดยการโจรกรรมผ่านระบบออนไลน์ที่ผ่านมามีการเติบโตสูงกว่า 4 เท่า ซึ่งจากผลสำรวจของการ์ทเนอร์พบว่า การโจมตีทางไซเบอร์ จะเกิดขึ้นทุกๆ 11 วินาที คาดว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยไซเบอร์ในอนาคตอันใกล้นี้จะสูงถึง 300 ล้านล้านบาท และเมื่อองค์กรธุรกิจถูกโจมตีจากภัยไซเบอร์ ก็จะเกิดความเสียหายตามมาอย่างมหาศาล ทั้งด้านการเงินและชื่อเสียงขององค์กร ซึ่งการติดตามเทรนด์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ รวมทั้งศึกษาเทคโนโลยีและวิธีป้องกันไว้ก่อน จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเตรียมองค์ธุรกิจให้พร้อมรับมือกับทุกความท้าทายทางไซเบอร์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา”
“การ์ทเนอร์” ยังได้คาดการณ์ถึงเทรนด์ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในอนาคต (Top Predictions for 2021 and Beyond) ภายใน 3- 4 ปีข้างหน้า ว่าองค์กรธุรกิจจะตระหนักถึงภัยไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น ประเทศต่างๆ จะมีระบบป้องกันดีขึ้น ในขณะเดียวกันการโจรกรรมก็รุนแรงขึ้นเช่นกัน โดยมี 8 เทรนด์ที่น่าสนใจดังนี้
ปี 2023
· 75% ของข้อมูลประชากรทั่วโลกจะถูกควบคุมด้วยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ปี 2024
· 30% ขององค์กรธุรกิจจะใช้บริการ Cloud Delivered ที่มี Security Tools ที่มาจาก Vendor รายเดียวกัน ปี 2025 · 50% ขององค์กรธุรกิจจะใช้ Cyber Security Mesh เพื่อรองรับการบริหารจัดการตัวตนและการเข้าถึงข้อมูลองค์กร
· 60% ขององค์กรธุรกิจจะพิจารณา ความปลอดภัยและ ความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์เป็นหลักในติดต่อธุรกิจ
· 30% ของประเทศบนโลกนี้ ผ่านกฎหมายที่ควบคุม การชำระค่าไถ่ ค่าปรับและค่าต่อรองจาก Ransomware
· 40% ของบอร์ดบริหารในองค์กรต่างๆ จะแต่งตั้งคณะกรรมการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ จากเดิมน้อยกว่า 10% ในปัจจุบัน
· 70% ของ CEO จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยืดหยุ่นรอดพ้นจากอาชญากรรมไซเบอร์ นอกเหนือจากปัญหาทางด้าน สภาพอากาศ ความไม่สงบ และความไม่มั่นคงทางการเมือง
· แฮกเกอร์ จะมีความสามารถเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่ในโลกดิจิทัลแต่ยังส่งผลถึงทางกายภาพ เป็นสาเหตุให้เกิดการทำร้ายผู้คนจนถึงแก่ชีวิต
“จีเอเบิล เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตอันใกล้ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์จะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น การดำเนินธุรกิจเกือบทั้งหมดจะถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์ ดังนั้น เรื่อง Cyber Security จะถูกยกระดับความสำคัญ กลายเป็น New Normal พื้นฐานหลักในการดำเนินธุรกิจที่ทุกองค์กรต้องมี เพราะการมีระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็ง เชื่อถือได้ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กรและธุรกิจอย่างแน่นอน” ดร.ชัยยุทธ กล่าวทิ้งท้าย