16 ก.พ. 2563 2,047 74

บรรยากาศการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคม (multiband auction) หรือ ประมูลคลื่น 5G + วิเคราะห์คลื่นไหนน่าสนใจ

บรรยากาศการประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคม (multiband auction) หรือ ประมูลคลื่น 5G + วิเคราะห์คลื่นไหนน่าสนใจ

การประมูลครั้งนี้ มีทั้งหมด 3 คลื่น

1. คลื่น 700 MHz มีผู้สนใจการประมูลคือ AIS, True และ CAT

โดยมีชุดการประมูลอยู่ที่ 3 ชุด ชุดละ 2x5 MHz ( ในย่าน 733-748 MHz / 788 - 803 MHz ) 

ความน่าสนใจคือ ราคาการประมูลเริ่มต้นต่อชุด 8,762 ล้านบาท เคาะครั้งละ 440 ล้านบาท

คลื่นนี้เป็นคลื่นที่เหมาะสำหรับการให้บริการ 4G และ 5G ในระยะไกล สามารถระจายสัญญาณได้ไกล มีข้อเสียคือ ไม่สามารถทำความเร็ว 5G ไม่ได้สูงๆ แต่ในปัจจุบันคลื่นดังกล่าวมีเทคโนโลยีใหม่  Dynamic Spectrum Sharing (DSS)  ที่ช่วยให้การใช้คลื่น 700 MHz มาให้บริการ 5G ได้เร็วมากขึ้นกว่าเดิม ทั้ง MIX คลื่นระหว่างคลื่นความถี่ ระหว่างกัน เช่น 600 MIX 700 หรือ 700 MIX 800 ทำให้สามารถให้บริการ 4G และ 5G ในเวลาเดียวกัน โดยมีประเทศเยอรมันและสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำร่องเทคโนโลยีนี้ (สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.adslthailand.com/post/6423)

2. คลื่น 2600 MHz มีผู้สนใจการประมูลคือ AIS, True และ CAT

โดยมีชุดการประมูลอยู่ที่ 19 ชุด ชุดละ 10 MHz ( ในย่าน 2500 - 2690 MHz ) จำกัดการประมูลไม่เกินเจ้าละ 100 MHz 

ความน่าสนใจคือราคาการประมูลเริ่มต้นต่อชุด 1,862 ล้านบาท เคาะครั้งละ 93 ล้านบาท

สำหรับคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นคลื่นที่ได้รับความนิยมในการนำมาให้บริการคลื่นความถี่ 5G ประเทศสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, สวิตเซอร์แลนด์ หรือ กลุ่มสหภาพยุโรป ความสามารถพิเศษของคลื่นความถี่ดังกล่าว เป็นคลื่นความถี่สูง มีความกว้างของสัญญาณมากเพียงพอในการให้บริการ 5G ผ่านสมาร์ทโฟนทั่วโลกที่รองรับ สามารถส่งสัญญาณได้ไกล ใกล้เคียงกับคลื่น TDD 2300 ของ TOT ( dtac-t ) ทะลุกระจกและตึกได้ดีในระดับหนึ่ง 

หากใครได้ คลื่นนี้มาครองก็สามารถเปิดให้บริการ 5G อย่างเป็นทางการได้ทันที

3. คลื่น 26 GHz มีผู้สนใจการประมูลคือ AIS, True, dtac และ TOT

โดยมีชุดการประมูลอยู่ที่ 27 ชุด ชุดละ 100 MHz ( ในย่าน 24.3 - 27 GHz ) จำกัดการประมูลไม่เกินเจ้าละ 1200 MHz 

ความน่าสนใจคือราคาการประมูลเริ่มต้นต่อชุด 423 ล้านบาท เคาะครั้งละ 22 ล้านบาท

เป็นคลื่นความถี่สูงที่ได้รับความนิยมเพื่อนำมาให้บริการ 5G HOME ภายในบ้าน หรือพื้นที่ภายในชุมหนาแน่น โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถใช้งานได้ดีมากกับอุปกรณ์ IoT ที่ต้องการใช้คลื่นความถี่สูงหรือรับส่งอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก 

สำหรับชุดสุดท้าย

4. คลื่น 1800 MHz ไม่มีผู้สนใจในการประมูล

โดยมีชุดการประมูลอยู่ที่ 4 ชุด ชุดละ 2 x 5 MHz ( ในย่าน 1750 - 1785 MHz และ  1845 - 1880 MHz ) จำกัดการประมูลไม่เกินเจ้าละ 2 x 20  MHz 

ความน่าสนใจคือราคาการประมูลเริ่มต้นต่อชุด 14,486 ล้านบาท เคาะครั้งละ 25 ล้านบาท

สามารถนำมาให้บริการ 4G ได้ทันที รองรับบริการการโทรออกด้วยเสียง ขณะที่ทุกเจ้าเริ่มมุ่งให้บริการ 5G มากกว่าการอยู่ในพื้นที่การให้บริการ 4G

สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือคลื่น 2600 MHz เนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าว ทาง กสทช. ได้เห็นชอบการแนวทางในการจ่ายเงินเยียวยาให้ อสมท. ราว 6,685.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นราว 25% ของมูลค่าคลื่น ตามคำแนะนำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเมินค่าเสียโอกาสจากการเรียกคืนคลื่น 2600 MHz เดิม คลื่นความถี่ 2600 MHz  ของ อสมท. ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS กับบริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด 1 ต.ค. 2553 โดย อสมท ได้ส่วนแบ่งร้อยละ 9 จากรายได้หลังหักค่าเช่าโครงข่าย และบริษัท เพลย์เวิร์ค ได้ส่วนแบ่งรายได้ร้อยละ 91 ซึ่งค่าเช่าโครงข่ายคิดเป็นร้อยละ 20 ของรายได้รวมทั้งหมด

ช่วงเช้า มีบรรยากาศจากผู้ให้บริการ (โอเปอเรเตอร์) โดยกลุ่มพนักงาน มาให้กำลังใจผู้บริหาร ในการประมูลคลื่น 5G

เริ่มจาก ดีแทค ที่มากับชุดเครื่องแบบที่ใส่เสื้อคลุมเหมือนกันทุกคน ประกาศพร้อมลุย เข้าร่วมประมูล 5G ที่กสทช. นำโดย ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร และ ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำคัญเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคม (multiband auction) โดยมีกองทัพพนักงานดีแทคมาร่วมส่งกำลังใจและพร้อมใจร่วมเชียร์ในการประมูลคลื่น 5G ที่จัดขึ้นที่ กสทช.

AIS เข้าร่วมประมูลคลื่น 5G

นำโดย สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมคณะผู้บริหาร เดินทางถึง กสทช. เข้าร่วมเคาะราคาการประมูล 5G คลื่นความถี่ 700 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz โดยมีพนักงานมาร่วมส่งกำลังใจอย่างคึกคัก

เหล่าพนักงาน True ยกทัพ ร่วมเชียร์  ส่งกำลังใจให้คณะผู้บริหาร พร้อมสู้ศึกประมูล 5 จี

ผู้บริหารกลุ่มทรู นำทีมโดย วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินทางถึงสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่ 6 โมงเช้า พร้อมทีมพนักงานทรูที่มาให้กำลังใจอย่างล้นหลาม โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งนี้กลุ่มทรูมีความพร้อม และมุ่งมั่นที่จะคว้าใบอนุญาตคลื่น 5 จี เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำ 5G ที่จะร่วมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ

 

CAT เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz และ 2600 MHz เพื่อนำมาให้บริการ 5G ในวันนี้ เวลา 09.00 น. ณ สำนักงาน กสทช.

TOT ร่วมประมูลคลื่น 5G

สรุปการประมูลคลื่น 700 MHz (3 ใบอนุญาต) จำนวน 51,459 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) (แบ่งเป็นใบละ 17,153 ล้านบาท) โดยมีผู้เข้าร่วมประมูลมี 3 ราย คือ ทรู เอไอเอส และ กสท โทรคมนาคม

สรุปการประมูลคลื่น 2600 MHz (จำนวน 19 ใบอนุญาต) ใบอนุญาตละ 10 MHz รวม 190 MHz ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท จบที่ รอบที่ 2 รวมทั้งหมด 37,164 ล้านบาท ใบละ 1,956 ล้านบาท (ยังไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เนื่องจากมีคนกดออกจาก 25 ใบ เหลือ 19 ใบ พอดีใบอนุญาต

สรุปการประมูลคลื่น 26 GHz (จำนวน 27 ใบอนุญาต) ใบอนุญาตละ 100 MHz รวม 2700 MHz ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท 11,570 ล้านบาท เคาะราคา 1 ครั้ง 

COMMENTS